วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ยุทธวิธีในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (5)



การสร้างตาราง (3)

 ตัวอย่าง 1.4   ปัญหาช่อดอกไม้ - Posy Poser
  ( Posy Poser จาก  http://www.puzzlemakers.net/logeasy.html )


        หญิงสาว  4  คน  คือ  แวนด้า-Wanda  ,  เวนดี้-Wendy  ,  เวนนี่-Wynne  และ วิลโลว์-Willow   ต่างคนต่างก็ได้รับช่อดอกไม้จากชาย  4  คน  คือ มิทช์-Mitch  ,  แมทธิว-Matthew  ,  มาร์ค-Mark  และ ไมค์-Milk  จงหาว่าสาวแต่ละคนได้รับช่อดอกไม้ชนิดใด และแฟนชื่ออะไร  ( ดอกไม้  4  ชนิด คือ แอสเตอร์- Asters  ,  แกลดิโอลัส-Galdioli  ,  ลิลี่-Lilies  และ กุหลาบ-Roses )  เมื่อทราบข้อมูลดังนี้


     1.   มิทช์  เป็นแฟนของ  แวนด้า   และได้มอบช่อดอกไม้ที่เธอชื่นชอบซึ่งไม่ใช่ดอกกุหลาบ
     2.  แมทธิว  มอบดอกแกลดิโอลัสให้กับแฟนของเขา  ซึ่งไม่ใช่  เวนดี้
     3.  เวนนี่ได้รับดอกลิลี่จำนวนหนึ่งโหล  แต่คนให้ไม่ใช่มาร์ค  วิธีคิด   ในข้อนี้มีความสัมพันธ์กันมากกว่าหนึ่งแบบ 


ดังนั้นเราจะสร้างตารางแสดงความสัมพันธ์ทั้งหมด ซึ่งจะช่วยให้เราวิเคราะห์ข้อมูลได้ครบทุกด้าน  ดังนี้





     จาก (1)     - มิชท์ เป็นแฟนของ แวนด้า
                     - แวนด้าไม่ได้รับกุหลาบ
     จาก (2) และ (3)  แวนด้าไม่ได้รับแกลดิโอลัส และลิลี่
          ดังนั้น แวนด้า ได้รับ แอสเตอร์




     จาก (2)     - แมทธิว เป็นผู้ให้ แกลดิโอลัส
                     - แมทธิว ไม่ใช่แฟนของ เวนดี้
          ดังนั้น เวนดี้ ไม่ได้รับ แกลดิโอลัส





     จาก (3)     - เวนนี่ ได้รับ ลิลี่
                     - มาร์ค ไม่ใช้แฟนของ เวนนี่
          ดังนั้น มาร์ค ไม่ได้เป็นผู้ให้ ลิลี่




          จะได้ว่า
               - เวนดี้ ได้รับ กุหลาบ  และ วิลโลว์ ได้รับ แกลดิโอลัส
               - มาร์ค เป็นผู้ให้ กุหลาบ  และ ไมค์ เป็นผู้ให้ ลิลี่



     สรุป
          มิชท์  มอบดอกแอสเตอร์ ให้กับ แวนด้า
          ไมค์  มอบดอกลิลี่ ให้กับ เวนนี่
          มาร์ค  มอบดอกกุหลาบ ให้กับ เวนดี้
          แมทธิว  มอบดอกแกลดิโอลัส ให้กับ วิลโลว์






แบบฝึกหัด

Breakfast  Meeting  ( จาก  http://www.puzzles.com/projects/logicproblems.html )


          เพื่อนสาว  4  คน นัดรับประทานอาหารเช้าด้วยกัน แต่ละคนซื้ออาหารและเครื่องดื่มที่แตกต่างกัน ซึ่งเครื่องดื่มอย่างหนึ่งก็คือ นม   และเมื่อจะแยกย้ายกันต่างก็ซื้อเครื่องดื่มติดมือกลับไปคนละอย่าง
          จงหาว่าใครซื้ออาหารเช้าชนิดใดพร้อมกับเครื่องดื่มอะไร  และซื้อเครื่องดื่มชนิดใดกลับไปด้วย เมื่อทราบข้อมูลดังต่อไปนี้

     1.  เบรนด้า-Brenda  ซื้อ วัฟเฟิล-waffles  แต่ไม่ซื้อ คาปูชิโน-espresso
     2.  คนที่ซื้อ แพนเค้ก-pancakes  จะซื้อ กาแฟไร้คาเฟอิน-decaf coffee ติดมือกลับไปด้วย  แต่จะไม่ได้ซื้อ น้ำแครนเบอรรี่-cranberry juice
     3.  คนที่ซื้อ ไข่เจียว-omelet  จะซื้อ น้ำดื่ม-water  แต่ไม่ใช่ เอมี่-Amy
     4.  สาวสองคนที่ซื้อน้ำผลไม้-juice  คนหนึ่งคือ เอมิลี่-Emily  ส่วนอีกคนคือคนที่ซื้อ แซนวิชไข่-egg sandwich
     5.  คนที่ซื้อ คาปูชิโน-cappuccino  ไม่ได้ซื้อ น้ำส้ม-orange juice
     6.  เมโลนี่-Melony  ซื้อ ชาร้อน-hot tea  กลับไป



ตอบ













          เนื่องจากมีความสัมพันธ์กันหลายรายการ ดังนั้นเราจะสร้างตารางเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ให้ครบทุกแบบ  ดังนี้





                 

       








วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ยุทธวิธีในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (4)




การสร้างตาราง (2)

ตัวอย่าง 1.2   ส้ม และ แจน อ่านหนังสืออ่านนอกเวลากันคนละหนึ่งเล่ม ส้มอ่านได้วันละ 8 หน้า ส่วนแจนอ่านได้วันละ 5  หน้า  ถ้าความสามารถในการอ่านของคนทั้งสองคงที่  และเริ่มอ่านในวันเดียวกัน แล้ว แจนจะอ่านได้รวมกี่หน้า เมื่อส้มอ่านได้รวม  56  หน้า


แนวคิด       เราสามารถสร้างตารางได้หลายแบบ  เช่น


        หรือ






     ใส่จำนวนวัน และจำนวนหน้ารวมทั้งหมดที่แต่ละคนอ่านได้



                จากตารางจะพบว่าเมื่อครบ  7  วัน ส้มจะอ่านได้รวม  56  หน้า ซึ่งตรงตามที่โจทย์ต้องการพอดี ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องหาวันต่อๆ ไป  และจะได้ว่าแจนอ่านได้รวม  35  หน้า

ตอบ     แจนอ่าน  35  หน้า เมื่อ ส้มอ่านได้  56  หน้า

q

ตัวอย่าง 1.3   โรงเรียนแห่งหนึ่งมีครู  4  คน  เป็นครูผู้ชาย  2  คน  คือ เดชาและกล้าหาญ  ครูผู้หญิง  2  คน คือ จริยาและสาริน   ในการประชุมวางแผนการสอนรายวิชาศิลปะ  คณิตศาสตร์  ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์  ได้ข้อสรุปว่า
                                (1)   ครูแต่ละคนสอนเพียงรายวิชาเดียว
                                (2)   ครูสตรีจะไม่สอนคณิตศาสตร์
                                (3)   น้องชายของเดชาสอนภาษาอังกฤษ
                                (4)   สารินสอนวิทยาศาสตร์
                อยากทราบว่าครูแต่ละคนสอนวิชาอะไรบ้าง

แนวคิด    ใช้ตารางช่วยในการวิเคราะห์ปัญหา ดังนี้



ขั้นที่ 1         เมื่อวิเคราะห์ข้อสรุปทั้ง  4  ข้อ พบว่า “สารินสอนวิทยาศาสตร์” และ “ครูแต่ละคนสอนเพียงรายวิชาเดียว”  ทำให้สามารถบันทึกลงในตารางได้ดังนี้
( จะใช้เครื่องหมาย  P  สำหรับข้อมูลที่สัมพันธ์กัน  และใช้เครื่องหมาย  X  สำหรับข้อมูลที่ไม่สัมพันธ์กัน )




                ความหมายของสัญลักษณ์ในตารางก็คือ  “ครูสาริน สอนวิชาวิทยาศาสตร์ และไม่ได้สอนวิชาอื่น”  และในขณะเดียวกันก็ทำให้ทราบว่า  “นอกจากครูสารินแล้วจะไม่มีครูคนใดสอนวิชาวิทยาศาสตร์”


ขั้นที่ 2     วิเคราะห์ต่อไป  “น้องชายของเดชาสอนภาษาอังกฤษ”  เนื่องจากครูผู้ชายมี  2  คน   ดังนั้นครูกล้าหาญสอนวิชาภาษาอังกฤษ   บันทึกข้อมูลดังนี้





ขั้นที่ 3     “ครูสตรีจะไม่สอนคณิตศาสตร์”  เพราะว่าครูสตรีมีสองท่าน จริยาและสาริน  จะบันทึกข้อมูลได้ดังนี้




ขั้นที่ 4     จากตารางในขั้นที่ 3 นี้ ทำให้สรุปได้ว่า ครูจริยาสอนวิชาศิลปะ  
                          ดังนั้น ครูเดชาสอนวิชาคณิตศาสตร์



ตอบ 
             ครูเดชา           สอน วิชาคณิตศาสตร์
             ครูจริยา           สอน วิชาศิลปะ
             ครูกล้าหาญ     สอน วิชาภาษาอังกฤษ
             ครูสาริน           สอน วิชาวิทยาศาสตร์

q






วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ยุทธวิธีในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (3)




ยุทธวิธีในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

                ในการหาคำตอบของสถานการณ์หรือปัญหาใดปัญหาหนึ่งนั้น  อาจมียุทธวิธีที่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหานั้นได้มากกว่าหนึ่งวิธี หรือต้องใช้หลายยุทธวิธีร่วมกัน  ดังนั้นขึ้นอยู่กับผู้แก้ปัญหาว่าจะเลือกยุทธวิธีใดมาใช้แก้ปัญหานั้นๆ  ซึ่งนักแก้ปัญหาที่ดีจะต้องมียุทธวิธีในการแก้ปัญหาที่พร้อมจะเลือกออกมาใช้ได้ในทันที   ยุทธวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหามีหลากหลายวิธี  ซึ่งในที่นี้จะขอนำเสนอยุทธวิธีในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  9  วิธี  ดังนี้

                1.  สร้างตาราง
                2.  การหาแบบรูป
                3.  การเขียนแผนผัง หรือภาพประกอบ
                4.  การเดาและตรวจสอบ
                5.  แจกแจงกรณีที่เป็นไปได้ทั้งหมด
                6.  เขียนเป็นประโยคทางคณิตศาสตร์
                7.  การดำเนินการแบบย้อนกลับ
                8.  แบ่งเป็นปัญหาย่อยๆ หรือเปลี่ยนมุมมองปัญหา
                          9.  การตัดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องออก

ในแต่ละยุทธวิธีมีแนวทางการดำเนินการดังนี้



1.  การสร้างตาราง

                เป็นการจัดกระทำกับข้อมูลเพื่อให้ดูง่าย  และสะดวกต่อการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ซึ่งจะนำไปสู่การค้นพบคำตอบ หรือรูปแบบ หรือข้อชี้แนะอื่นๆ   นอกจากนี้ตารางยังช่วยแสดงกรณีที่เป็นไปได้ของการแก้ปัญหานั้นๆ

ตัวอย่าง 1.1  สมชายไปคืนหนังสือที่ยืมมาจากห้องสมุด พบประกาศการชำระค่าปรับกรณีคืนหนังสือเกินกำหนดเวลา ดังนี้





     ถ้าสมชายมีหนังสือสองเล่ม เล่มหนึ่งเกินกำหนดส่งไป  7  วัน  อีกหนึ่งเล่มเกินกำหนดส่ง  10  วัน  เขาจะต้องเสียค่าปรับรวมเป็นเงินเท่าไร



แนวคิด       สร้างตารางที่มีลักษณะดังนี้



จำนวนวัน (วัน)










ค่าปรับ (บาท)














                ใส่ข้อมูลที่ทราบแล้วจากประกาศของห้องสมุด  ดังนี้




จำนวนวัน (วัน)
1
2
3
4






ค่าปรับ (บาท)
1
2
4
8










     เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนวัน กับ ค่าปรับ จะพบว่า ค่าปรับเพิ่มเป็นสองเท่าของค่าปรับวันก่อนหน้า  นั่นคือ ถ้าส่งช้า  5  วัน จะเสียค่าปรับ  16  บาท   ถ้าส่งช้า  6  วัน จะเสียค่าปรับ  32  บาท  ดังนั้นจะสามารถเติมค่าลงในตารางได้ดังนี้



จำนวนวัน (วัน)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
ค่าปรับ (บาท)
1
2
4
8
16
32
64
128
256
512




     สมชายคืนหนังสือเล่มหนึ่งเกินกำหนด  7  วัน  เสียค่าปรับ  64  บาท  อีกหนึ่งเล่มเกินกำหนด  10  วัน  เสียค่าปรับ   512  บาท   ดังนั้นเขาจะต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน  64 + 512  เท่ากับ  576  บาท


ตอบ    สมชายจะต้องเสียค่าปรับรวมเป็นเงิน  576  บาท

q






วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ยุทธวิธีในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (2)




กระบวนการแก้ปัญหา
                กระบวนการแก้ปัญหาที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา (George Pólya นักคณิตศาสตร์ชาวฮังกาเรียน ค.ศ.1887 1985)   ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการแก้ปัญหา  4  ขั้นตอน ดังนี้

                ขั้นที่ 1   ทำความเข้าใจปัญหา    เป็นการสำรวจว่าในปัญหามีคำ หรือวลี หรือประโยคย่อยๆ อะไรบ้าง  มีความหมายอย่างไร  แล้วจำแนกเป็นส่วนๆ ว่า  โจทย์กำหนดอะไรให้  สิ่งที่ต้องการหาคือคืออะไร  ข้อมูลที่กำหนดให้มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง

                ขั้นที่ 2   วางแผนแก้ปัญหา    เป็นขั้นการวิเคราะห์รายละเอียดและหาความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลที่กำหนดกับสิ่งที่ต้องการหา  โดยใช้บทนิยาม  สมบัติ และทฤษฎีบทต่างๆ ที่ได้เรียนรู้มาก่อนแล้ว   ในการพิจารณาอาจใช้วิธีการต่างๆ เพื่อช่วยให้ได้ข้อสรุปที่สามารถดำเนินการแก้ปัญหาและหาคำตอบได้  เช่น  การวาดรูปประกอบ  การสร้างตารางวิเคราะห์  การแยกสถานการณ์หรือเงื่อนไขเป็นส่วนย่อยๆ   เป็นต้น

                ขั้นที่ 3   ดำเนินการแก้ปัญหา   เป็นขั้นของการแก้ปัญหาตามแผนที่วางไว้ และมีการตรวจสอบแต่ละขั้นตอนที่ปฏิบัติว่าถูกต้องหรือไม่

                ขั้นที่ 4   ตรวจสอบผล   เป็นการตรวจสอบผลที่ได้ในแต่ละขั้นตอนว่าถูกต้องหรือไม่  หรือใช้วิธีการแก้ปัญหาวิธีอื่นๆ  แล้วตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้ว่าตรงกันหรือไม่  หรืออาจใช้การประมาณคำตอบอย่างคร่าวๆ

                คนส่วนใหญ่มักจะมองว่าขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยาทั้ง  4  ขั้นตอน เป็นขั้นตอนที่เรียงลำดับเป็นแนวเส้นตรง ดังแผนภาพ











                รูปแบบเช่นนี้ทำให้เข้าใจกันว่ากระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาเป็นชุดของขั้นตอนการแก้ปัญหา เป็นกระบวนการในแนวตรง ซึ่งต้องดำเนินการไปทีละขั้นตามลำดับห้ามข้ามขั้น และเน้นการได้คำตอบ  ปัจจุบันมีการปรับปรุงกระบวนการแก้ปัญหา  4  ขั้นตอนของโพลยาขึ้นใหม่  โดยเสนอเป็นกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่แสดงการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้ในทุกขั้นตอน  ดังแผนภาพต่อไปนี้







                ในแต่ละขั้นตอนสามารถพิจารณาตัดสินใจเคลื่อนการกระทำไปสู่อีกขั้นตอนหนึ่ง หรืออาจจะย้อนกลับไปขั้นตอนเดิมหากมีปัญหาหรือข้อสงสัย เช่น เมื่อทำการแก้ปัญหาในขั้นตอนแรกคือทำความเข้าใจปัญหาแล้วเคลื่อนไปสู่ขั้นการวางแผน  ระหว่างการดำเนินการในขั้นการวางแผนนั้นอาจย้อนกลับไปค้นพบสิ่งที่ทำให้เข้าใจปัญหาได้ดียิ่งขึ้น  หรือในขั้นตอนดำเนินการตามแผนที่วางไว้แต่ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้  จำเป็นต้องย้อนกลับไปเริ่มวางแผนใหม่  เป็นต้น








วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ยุทธวิธีในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (1)




              ยุทธวิธีในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  ชุดนี้เรียบเรียงจากแหล่งความรู้ต่างๆ  เช่น
          1.  ประพันธ์ศิริ  สุเสารัจ.  คิดเก่ง สมองไว.  บริษัท โปรดัคทีฟ บุ๊ค จำกัด  กรุงเทพฯ พิมพ์ครั้งที่ 2, 2542.
          2.  สมเดช  บุญประจักษ์.  การแก้ปัญหา.  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฎพระนคร กรุงเทพฯ, 2543.
          3.  สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. คู่มือการสอนหลักสูตรเพิ่มพูนประสบการณ์สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ด้านคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. บริษัท พิมพ์ดี จำกัด กรุงเทพฯ, 2547.
          4.  วารสารวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ทางการศึกษา  ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลายฉบับในช่วงปี พ.ศ. 2523 – 2525
          5.  Martin Gardner. More Mathematical Puzzles and Diversions. Penguin Books, 1961.
          6.  William E. Mitchell and Thomas F.Kowalik. Creative Problem Solving. Third Edition, 1999.
          7.  http://school.obec.go.th/math_sup/polya2.htm
          8.  http://en.wikipedia.org/wiki/George_P%C3%B3lya
          9.  การพัฒนากระบวนการคิด  http://www.bsru.ac.th/study/decision/ex2/a2.htm
         10.  http://math1.snru.ac.th/UserFiles/File/math1@snru/thinking%20and%
20decise%20subject/t1112-22.doc
         11.  http://library.thinkquest.org/25459/learning/problem/
         12.  http://library.thinkquest.org/4471/learn.htm
         13.  http://members.optusnet.com.au/charles57/Creative/Brain/cps.htm
         14.  http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/knowledge_math/
sequence/sequenc1.html
         15.  http://condor.admin.ccny.cuny.edu/~ks7271/
         16.  http://www.onlinemathlearning.com/math-problem-solving-strategies.html
         17.  http://glencoe.com/sites/common_assets/mathematics/
math_review/PS_Simpler_Problem.pdf
         18.  http://fcit.usf.edu/math/resource/fcat/strat.htm
         19.  http://en.wikipedia.org/wiki/Bulls_and_cows
         20.  http://www.mathsisfun.com/games/bulls-and-cows.html
         21.  www.math.okstate.edu/system/files/hsc/exams/exam02.pdf
         22.  http://www.mymindmap.net/images/
Mind_Map_Template_Mulit_Rnd_small.jpg
         23.  http://www.usingmindmaps.com/images/using-mind-maps.gif
  




        เรามาทำความเข้าใจกับ  ” ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ”  กันก่อน


ปัญหาทางคณิตศาสตร์  หมายถึง สถานการณ์ หรือคำถามที่ต้องใช้ความรู้ และวิธีการทางคณิตศาสตร์เป็นแนวทางในการหาคำตอบ


ภาพจาก  http://www.cartoonstock.com/directory/m/math_problem_gifts.asp



ปัญหาทางคณิตศาสตร์อาจแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้หลายลักษณะด้วยกัน เช่น
1. แบ่งโดยจุดประสงค์ของปัญหา   สามารถแบ่งปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้เป็น  2  ประเภท  คือ
1.1  ปัญหาให้ค้นคว้า  เป็นปัญหาที่ต้องการให้ค้นคว้าหาคำตอบ ซึ่งคำตอบอาจเป็นปริมาณ หรือเป็นวิธีการและคำอธิบายในการให้เหตุผล
1.2  ปัญหาให้พิสูจน์  เป็นปัญหาที่ต้องการให้แสดงเหตุผลว่าข้อความที่กำหนดให้เป็นจริง หรือ เป็นเท็จ


ภาพจาก  http://greedge.livejournal.com/



2. แบ่งโดยความซับซ้อนของปัญหา  สามารถแบ่งปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้เป็น  2  ประเภท  คือ
2.1  ปัญหาธรรมดา  เป็นปัญหาที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อนมากนัก ถ้าผู้แก้ปัญหามีความคุ้นเคยในโครงสร้าง และวิธีการแก้ปัญหา  ก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ในทันที 
2.2  ปัญหาแปลกใหม่  เป็นปัญหาที่มีโครงสร้างซับซ้อน และผู้แก้ปัญหาไม่คุ้นเคยกับปัญหานั้น ซึ่งผู้แก้ปัญหาจะต้องผสมผสานความรู้ความสามารถหลายด้านเข้าด้วยกันจึงจะแก้ปัญหานั้นได้


ภาพจาก  http://www.bnp-chronicle.com/2010/01/math-problem-solver.html



3. แบ่งโดยลักษณะของปัญหา  สามารถแบ่งปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้เป็น  3  ประเภท  คือ
3.1  ปัญหาปลายเปิด  เป็นปัญหาที่มีคำตอบที่เป็นไปได้หลายคำตอบ ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมและวิธีการแก้ปัญหา ปัญหาลักษณะนี้จะให้ความสำคัญของกระบวนการแก้ปัญหามากกว่าคำตอบ
3.2  ปัญหาให้ค้นพบ  เป็นปัญหาที่กำหนดสถานการณ์ให้ผู้แก้ปัญหาดำเนินการตามขั้นตอนวิธีการทางคณิตศาสตร์  จนกระทั่งได้คำตอบในขั้นตอนสุดท้ายของการแก้ปัญหา  มักเป็นปัญหาที่มีวิธีแก้ได้หลายวิธี
3.3  ปัญหาที่มีการกำหนดแนวทาง  เป็นปัญหาที่มีรายละเอียดของปัญหามาให้ เช่น มีคำแนะนำ และคำชี้แจงในการแก้ปัญหา ซึ่งผู้แก้ปัญหาสามารถดำเนินการแก้ปัญหาตามการชี้แนะได้เลย


ภาพจาก  http://www.ehow.com/info_7884486_different-ways-doing-math-problems.html



4. แบ่งโดยเป้าหมายของการฝึก  สามารถแบ่งปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้เป็น  6  ประเภท  คือ
4.1  ปัญหาที่ใช้ฝึกทักษะ  เป็นปัญหาที่ใช้ฝึกขั้นตอนวิธี และการคำนวณเบื้องต้น
4.2  ปัญหาข้อความอย่างง่าย  เป็นปัญหาข้อความที่เคยพบมาก่อน เช่น ปัญหาในหนังสือเรียน  เป็นการฝึกให้คุ้นเคยกับการเปลี่ยนประโยคภาษาเป็นประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ มักเป็นปัญหาขั้นตอนเดียวที่มุ่งให้เกิดความเข้าใจความคิดทางคณิตศาสตร์ และพัฒนาความสามารถในการคิดคำนวณ
                                4.3  ปัญหาข้อความที่ซับซ้อน  คล้ายกับปัญหาอย่างง่าย แต่เป็นปัญหาที่มีตั้งแต่  2  ขั้นตอนขึ้นไป
                                4.4  ปัญหาที่เป็นกระบวนการ  เป็นปัญหาที่ไม่เคยพบมาก่อน เน้นการพัฒนายุทธวิธีต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ  มีการวางแผนแก้ปัญหา และประเมินผลคำตอบ  จะต้องจัดปัญหาให้ง่ายขึ้น หรือแบ่งเป็นขั้นตอนย่อยๆ แล้วหารูปแบบทั่วไปของปัญหานั้น
4.5  ปัญหาการประยุกต์  เป็นปัญหาที่เปิดโอกาสให้ผู้แก้ปัญหาได้ใช้ทักษะ กระบวนการ ความคิด ความรู้ ความเข้าใจ และข้อเท็จจริงทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา  โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง ซึ่งจะทำให้ผู้แก้ปัญหาเห็นประโยชน์และคุณค่าของคณิตศาสตร์
                                4.6  ปัญหาปริศนา  เป็นปัญหาที่บางครั้งได้คำตอบจากการเดาหรือการลองผิดลองถูก  อาจไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา  หรือบางปัญหาต้องใช้เทคนิคการแก้ปัญหาเฉพาะตัว  เป็นปัญหาที่เปิดโอกาสให้ผู้แก้ปัญหาได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์  มีความยืดหยุ่นในการแก้ปัญหา และเป็นปัญหาที่มีมุมมองได้หลายแง่มุม  ปัญหาปริศนามักเป็นปัญหาลับสมอง  ปัญหาท้าทาย  ผู้ที่มีทักษะในการแก้ปัญหาจะแก้ปัญหาลักษณะนี้ได้ดี


ภาพจาก  http://www.clipartof.com/portfolio/bnpdesignstudio/math