วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คณิตศาสตร์กับศิลปะ 2 ลูกบาศก์โซมา (6)



การประกอบลูกบาศก์โซมาให้ได้ตามรูปทรงที่กำหนดให้  (2)

     รูปที่ 11






     รูปที่ 12





     รูปที่ 13






     รูปที่ 14






     รูปที่ 15







     รูปที่ 16






     รูปที่ 17






     รูปที่ 18







     รูปที่ 19







     รูปที่ 20













วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คณิตศาสตร์กับศิลปะ 2 ลูกบาศก์โซมา (5)



การประกอบลูกบาศก์โซมาให้ได้ตามรูปทรงที่กำหนดให้  (1)




     เมื่อมีลูกบาศก์โซมาครบ  7  ชิ้นแล้ว ก็อาจจะสร้างสรรค์งานตามความคิดของตนเอง หรือเริ่มต้นด้วยการประกอบลูกบาศก์โซมาให้ได้เป็นรูปทรงตามแบบที่มีการสร้างไว้แล้ว ซึ่งรูปทรงแรกที่ควรประกอบให้ได้ก่อนก็คือ ลูกบาศก์ขนาด  3 x 3 x 3  ลูกบาศก์หน่วย หรือเลือกรูปทรงอื่นๆ ได้ตามความสนใจ

(รูปที่ 2 ถึงรูปที่ 20  มาจาก  Martin Gardner. More Mathematical Puzzles and Diversions.  London : Penguin Books , 1966.)


     รูปที่ 1





     รูปที่ 2





     รูปที่ 3





     รูปที่ 4




     รูปที่ 5





     รูปที่ 6





     รูปที่ 7





     รูปที่ 8






     รูปที่ 9






     รูปที่ 10















วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คณิตศาสตร์กับศิลปะ 2 ลูกบาศก์โซมา (4)



วิธีสร้างลูกบาศก์โซมาวิธีที่ 2  โดยการพับกระดาษแล้วนำมาสานให้เป็นลูกบาศก์โซมาแต่ละชิ้น

     การทำลูกบาศก์โซมาวิธีนี้มาจากเว็บไซต์  http://www.fam-bundgaard.dk/SOMA/NEWS/N991004.HTM    โดยมีขั้นตอนการทำดังนี้

     ขั้นที่ 1  เราจะทำ “แถบด้านข้าง”  โดยการใช้กระดาษรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหนึ่งแผ่น   
          พับครึ่งตามแนวเส้น  แล้วกางออก (ต้องการรอยพับ)   พับครึ่งตามแนวเส้น  B  และ ดังรูป








     ขั้นที่ 2  พับมุมทั้งสองข้างเข้าไปตามแนวเส้น  และ  E   จากนั้นคลี่กระดาษออก  จะเห็นรอยพับดังรูป

















     ขั้นที่ 3  พับรูปสามเหลี่ยม และรูปสามเหลี่ยม เข้ามา  ดังรูป









     ขั้นที่ 4  พับรูปสี่เหลี่ยม H (รูปใหญ่ตลอดแนว) ขึ้นไป ดังรูป




     พับรูปสามเหลี่ยม I  เข้าไป แล้วพับรูปสี่เหลี่ยม (รูปใหญ่ตลอดแนว)  ลงมาทับ




     ขั้นที่ 5  พับรูปสามเหลี่ยม
สอดเข้าไปข้างใต้รูป  L   จากนั้นพับรูปสามเหลี่ยม M และ เข้ามาตามแนวเส้น P  แล้วกางออก (ต้องการรอยพับ)





                  เราก็จะได้ “แถบด้านข้าง” จำนวน  1  ชิ้น



          ในการสร้างลูกบาศก์หน่วยซึ่งมีด้านทั้งหมด  6  ด้าน จะต้องใช้ “แถบด้านข้าง” จำนวน  6  ชิ้น ต่อเข้าด้วยกันโดยสอดส่วนปีกของ “แถบด้านข้าง” เข้าไปซึ่งคล้ายกับการใส่สลัก ดังรูป





















          ลูกบาศก์หน่วยจะมีวิธีการประกอบดังรูปต่อไปนี้


















          ในการทำลูกบาศก์โซมาแต่ละชิ้นจะใช้ “แถบด้านข้าง” เท่ากับจำนวนหน้าของลูกบาศก์โซมาชิ้นนั้นๆ  ตัวอย่างเช่น  ลูกบาศก์โซมาหมายเลข 1  จะเห็นได้ว่ามีทั้งหมด  14  หน้า แม้ว่าจะใช้ลูกบาศก์หน่วย  3  ลูก ซึ่งมีหน้ารวม  18  หน้า  แต่เพราะว่าลูกบาศก์โซมาหมายเลข 1 มีบางหน้าซ่อนอยู่ภายใน   ดังนั้นใช้ “แถบด้านข้าง”  จำนวน  14  ชิ้น ก็เพียงพอแล้ว





          สำหรับลูกบาศก์โซมาที่เหลืออีก  6  ชิ้น ทุกชิ้นต่างก็มีจำนวนหน้าเท่ากัน คือ  18  หน้า   ดังนั้นรวม “แถบด้านข้าง” ที่ต้องใช้ทำลูกบาศก์โซมาทั้งหมดเป็นจำนวน  122  ชิ้น


     ข้อควรจำที่สำคัญ  คือ เมื่อประกอบรูปทรงเสร็จสิ้นแล้ว  ปีกของ “แถบด้านข้าง” ทุกชิ้นต้องเข้าสลักได้ทั้งหมด













วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คณิตศาสตร์กับศิลปะ 2 ลูกบาศก์โซมา (3)



วิธีสร้างลูกบาศก์โซมาวิธีที่ 1 โดยการทำลูกบาศก์หน่วย  (2)

          นอกจากนี้ยังมีวิธีพับลูกบาศก์หน่วยด้วยกระดาษหนึ่งแผ่นจากเว็บไซต์
http://www.mathematische-basteleien.de/oricube.htm  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

          ขั้นที่ 1
  เตรียมกระดาษรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหนึ่งแผ่น





     พับตามแนวเส้นทแยงมุมทั้งสองเส้น แล้วคลี่ออก  จากนั้นพับเข้าทั้งสองข้างตามแนวลูกศรซึ่งจะทำให้ทุกหน้าเกิดเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านบนและด้านล่าง ดังรูป





          ขั้นที่ 2  พับรูปสามเหลี่ยมรูปบนขึ้นไปโดยให้แนวเส้นสีแดงเป็นรอยพับ ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา 




                    ซึ่งจะได้ผลดังรูป





          ขั้นที่ 3  พับเข้าทั้งสองข้าง ตามแนวเส้นสีแดง




                    จะได้ผลดังรูป






          ขั้นที่ 4  พับรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ ทั้งสองข้างลงมาตามแนวเส้นสีแดง






          ขั้นที่ 5  พับรูปสามเหลี่ยมที่เกิดใหม่สอดเข้าไปในช่องทั้งสองข้าง ซึ่งจะเหมือนกับเป็นการใส่สลักเล็กๆ เข้าไป




                    จะได้ผลดังรูป






           ขั้นที่ 6  พลิกให้รูปสามเหลี่ยมด้านล่างกลับขึ้นมาอยู่ด้านบน  จากนั้นทำซ้ำตามขั้นตอนที่ 2 , 3 , 4 และ 5




                    ซึ่งเมื่อทำเสร็จแล้วจะได้ผลดังรูป







          ขั้นที่ 7  พับตามแนวเส้นสีแดง แล้วคลี่ออก






          ขั้นที่ 8  เป่าลมเข้าไปภายในตรงตำแหน่งที่ลูกศรชี้




      จัดรูปทรงในระหว่างการเป่าลมไปด้วย  และเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจะได้ลูกบาศก์หน่วยดังรูป






          อาจมีคำถามว่าจะสามารถกำหนดขนาดของลูกบาศก์หน่วยได้หรือไม่ เราหาคำตอบได้ดังนี้  ถ้านำลูกบาศก์หน่วยที่พับเสร็จแล้วมาคลี่ออกเป็นแผ่นกระดาษ ก็จะเห็นรอยพับ และบริเวณที่เป็นพื้นที่ผิวของลูกบาศก์หน่วย ดังรูป






                    ความยาว   a   หน่วย  คือ ความยาวด้านของกระดาษรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่นำมาพับ
            และ  ความยาว   x   หน่วย  คือ ความยาวด้านของลูกบาศก์หน่วย

     สามารถหาความสัมพันธ์ระหว่าง  a  กับ  x   ได้เป็นอัตราส่วน  a :=  4 : 1

     เช่น ถ้าต้องการลูกบาศก์หน่วยที่มีด้านยาว  นิ้ว จะต้องใช้กระดาษรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านยาว  4  นิ้ว

     หรือ ถ้าต้องการลูกบาศก์หน่วยที่มีด้านยาว  3  นิ้ว ก็ต้องใช้กระดาษรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านยาว  12  นิ้ว เป็นต้น















วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คณิตศาสตร์กับศิลปะ 2 ลูกบาศก์โซมา (2)



การสร้างลูกบาศก์โซมา

        วิธีสร้างลูกบาศก์โซมาด้วยกระดาษมีหลายวิธี  ในที่นี้ขอนำเสนอ  2  วิธี

        อุปกรณ์     กระดาษขนาด A4 หรือ กระดาษชาร์ท  ไม้บรรทัด  ยางลบ  ดินสอ  กาว  กรรไกร


วิธีสร้างลูกบาศก์โซมาวิธีที่ 1 โดยการทำลูกบาศก์หน่วย  (1)

          วิธีสร้างลูกบาศก์โซมาที่ง่ายที่สุดก็คือทำลูกบาศก์หน่วยขึ้นมา  27  ลูก แล้วนำมาต่อให้ติดกันด้วยกาวให้ได้ตามแบบของลูกบาศก์โซมาทั้ง  7  ชิ้น    ตัวแบบสำหรับพับเป็นลูกบาศก์หน่วยที่พบกันบ่อยๆ มีลักษณะดังนี้





          แต่ยังมีตัวแบบอื่นๆ ให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่กระดาษ และต้องไม่ลืมเพิ่มขอบสำหรับทากาวด้วย








ตัวอย่างกระดาษแบบสำหรับทำลูกบาศก์โซมา


ลูกบาศก์โซมา หมายเลข 1   ต้องใช้  3  ชิ้น










ลูกบาศก์โซมา หมายเลข 2   ต้องใช้  4  ชิ้น










ลูกบาศก์โซมา หมายเลข 3   ต้องใช้  4  ชิ้น











ลูกบาศก์โซมา หมายเลข 4   ต้องใช้  4  ชิ้น










ลูกบาศก์โซมา หมายเลข 5   ต้องใช้  4  ชิ้น









ลูกบาศก์โซมา หมายเลข 6   ต้องใช้  4  ชิ้น










ลูกบาศก์โซมา หมายเลข 7   ต้องใช้  4  ชิ้น