วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน – ความคิดคณิตศาสตร์ 8


คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันความคิดคณิตศาสตร์  8


กิจกรรมฝึกทักษะ(เพิ่มเติม) 2    เกมทายเลขสามหลัก

     เกมทายเลขสามหลักนี้ดัดแปลงมาจากเกม Master Mind  (เกมทายสีทายใจ) จุดประสงค์เพื่อฝึกวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำมาสังเคราะห์หาคำตอบ


ตัวอย่างที่ 1   จงทายเลขสามหลัก ซึ่งแต่ละหลักไม่มีตัวเลขซ้ำกัน เมื่อทราบข้อมูลต่อไปนี้



แนวคิด    จากข้อมูลการทายครั้งที่ 1 , 2  และ  ทำให้ทราบว่า คำตอบต้องมีเลข  0   
               เมื่อนำไปพิจารณาร่วมกับการทายครั้งที่ ทำให้รู้ว่า  8  และ  ไม่มีอยู่ในคำตอบ และยังรู้ด้วยว่า  0  ต้องอยู่ในหลักสิบ หรือหลักหน่วย
               เมื่อพิจารณาร่วมการทายครั้งที่ 4  จะพบว่าคำตอบต้องมี  5  และ  5  อยู่ในหลักหน่วย  ดังนั้นคำตอบควรจะเป็น   ...05  
               เพราะรู้ว่าคำตอบไม่มี  8  และ  ดังนั้นเมื่อพิจารณาร่วมการทายครั้งที่ 3  จะพบว่าคำตอบต้องมี  9  และ  คำตอบที่ถูกต้อง คือ   905  




ตัวอย่างที่ 2   จงทายเลขสามหลัก ซึ่งแต่ละหลักไม่มีตัวเลขซ้ำกัน เมื่อทราบข้อมูลต่อไปนี้



แนวคิด    จากข้อมูลการทายครั้งที่ และ  ทำให้ทราบว่า คำตอบไม่มีเลข  8   ดังนั้นคำตอบต้องมีเลข  3  และ  7  ซึ่งมีตัวหนึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง  ดังนั้นคำตอบอาจจะเป็น   37   หรือ  37
               เมื่อนำไปพิจารณาร่วมกับการทายครั้งที่ ทำให้รู้ว่าคำตอบไม่มี  1  กับ  5    และ  3   ไม่อยู่ในหลักสิบ  ซึ่งทำให้คำตอบ  37  เป็นไปไม่ได้   ดังนั้นคำตอบจะต้องเป็น  37  
               เมื่อพิจารณาร่วมการทายครั้งที่ 4  จะพบว่าคำตอบต้องมี  6  เพราะ  6  อยู่ในหลักหน่วย

               คำตอบที่ถูกต้อง คือ   376  




แบบฝึกทักษะ     ให้หาเลขสามหลัก เมื่อกำหนดข้อมูลการทายต่อไปนี้















     ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม  วิธีการเล่น เกมทายเลขสามหลัก กับเพื่อน หรือเล่นเป็นทีม
          คนที่หรือทีมที่ 1     คิดเลขสามหลัก ไว้ในใจ หรือเขียนไว้ (ในเบื้องต้นให้ใช้ตัวเลขไม่ซ้ำกัน) โดยไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามรู้  ( ฝ่ายตรงข้าม หมายถึง คนที่หรือทีมที่ 2 )
          คนที่หรือทีมที่ 2     ทายว่าเลขสามหลักนี้คืออะไร
          คนที่หรือทีมที่ 1     ตอบว่าทายตัวเลขถูกกี่ตัว  และมีตำแหน่งถูกกี่ตำแหน่ง
          คนที่หรือทีมที่ 2     นำคำตอบมาวิเคราะห์ เพื่อเปลี่ยนคำทายเลขสามหลักใหม่
          คนที่หรือทีมที่ 1     ตอบว่าถูกกี่ตัว  และถูกกี่ตำแหน่ง
           ...

     ทำเช่นนี้ติดต่อกันไป จนกว่าคนที่หรือทีมที่ 2 จะทายถูก โดยพยายามให้จำนวนครั้งที่ทายน้อยที่สุด






กิจกรรมฝึกทักษะ(เพิ่มเติม) 2    เกมทายเลขสามหลัก
คำตอบ        1.   231                               2.   132                                   3.   213
                   4.   153                               5.   203                                  6.   302








คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน – ความคิดคณิตศาสตร์ 7


คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันความคิดคณิตศาสตร์  7


กิจกรรมฝึกทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์ ( เพิ่มเติม )


กิจกรรมฝึกทักษะ(เพิ่มเติม) 1   เกมเลขโดดเก้าตัว

     ให้จัดแบ่งเลขโดด 1 ถึง 9   ( ไม่ใช้ 0 )  ออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งมี  ตัว  กลุ่มที่สองมี  ตัว

ตัวอย่างเช่น  กลุ่มที่ 1 เลือก  1 , 2 , 3 , 5 , 8    ดังนั้นกลุ่มที่สองต้องเป็น  4 , 6 , 7 , 9


                    ขั้นต่อไปให้แบ่งตัวเลขในกลุ่ม และหาผลคูณ ดังนี้



   ให้ค้นหาว่าจะจัดแบ่งเลขโดดทั้ง  9  ตัว โดยวิธีการเดียวกันนี้ (และได้ผลลัพธ์เท่ากัน)  ให้ได้จำนวนชุดให้มากที่สุด
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………































คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน – ความคิดคณิตศาสตร์ 6



คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันความคิดคณิตศาสตร์  6


กิจกรรมที่ 4    …………………………………………………………………………………………

วัตถุประสงค์     ฝึกทักษะด้าน การคิดสร้างสรรค์ และการให้เหตุผล

จำนวนผู้เล่น รายบุคคล หรือ ทีมละ  2 – 5  คน

เวลาทำกิจกรรม ไม่เกิน  20  นาที                                      เวลาอภิปรายสรุปกิจกรรม ประมาณ  10 – 20  นาที



คำชี้แจง          1.  ให้คิดชื่อกิจกรรมนี้แล้วเติมลงในช่องว่างข้างบน
                      2.  กิจกรรมที่ 4 นี้มีข้อย่อยทั้งหมด 3 ข้อ คือ 4.1 , 4.2 และ 4.3


4. ให้สร้างโจทย์คณิตศาสตร์ที่มีคำตอบผิดหลักการคิดทางคณิตศาสตร์แต่สอดคล้องกับความเป็นจริงพร้อมชี้แจงเหตุผลประกอบ

ตัวอย่าง  น้ำ  4  แก้ว รวมกับน้ำ  2  แก้ว เท่ากับน้ำ  1  แก้ว
เหตุผล  มีน้ำ  6  แก้ว สามารถรวมใส่ในแก้วใบเดียวได้ ถ้าแก้วนั้นมีความจุพอ

โจทย์ 1.  ………….……………………………………..….…………………………………
……………………………………………………………………………………………………
เหตุผล  ………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………

โจทย์ 2.  …………….…………………………………..….………………………………
……………………………………………………………………………………………………
เหตุผล  ………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………


ข้อ 4.ให้สร้างโจทย์ที่มีผลลัพธ์เท่ากับ  15  ให้ได้มากที่สุด
1.  ……………………………………………………………………………………………
2.  ……………………………………………………………………………………………
3.  ……………………………………………………………………………………………
4.  ……………………………………………………………………………………………
5.  ……………………………………………………………………………………………
6.  ……………………………………………………………………………………………
7.  ……………………………………………………………………………………………
8.  ……………………………………………………………………………………………



ข้อ 4.ให้สร้างโจทย์ปัญหาที่มีคำตอบเท่ากับ  9  ให้ได้มากที่สุด
1.  ……………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
2.  ……………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
3.  ……………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
4.  ……………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………



 ประเด็นอภิปราย  1.  แนวคิด   2.  ประโยชน์ของกิจกรรม 







คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน – ความคิดคณิตศาสตร์ 5



คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันความคิดคณิตศาสตร์  5



กิจกรรมที่ 3  ใครซื้อรองเท้าแบบใด

วัตถุประสงค์     ฝึกทักษะด้าน การคิดวิเคราะห์ และการให้เหตุผล

จำนวนผู้เล่น รายบุคคล หรือ ทีมละ  2 – 5  คน

เวลาทำกิจกรรม ไม่เกิน  20  นาที                                      เวลาอภิปรายสรุปกิจกรรม ประมาณ  10 – 20  นาที



โจทย์  สาวสวยสี่คนไปซื้อรองเท้า โดยเลือกได้แบบที่แตกต่างกัน ให้หาว่าแต่ละคนมีชื่อ นามสกุลอะไร เลือกแบบและสีของรองเท้าอย่างไร จากข้อมูลต่อไปนี้

     1.  แนนซี่ บาร์โลว์  ไม่ได้ซื้อรองเท้าบูท ( boots – รองเท้าหุ้มข้อเท้า )

     2.  คนนามสกุลพาร์คเกอร์ซื้อรองเท้าสีเขียว

     3.  รองเท้าปั๊มพ์ ( pumps – รองเท้าส้นเตี้ยไม่มีสายคาด )  ไม่ได้มีสีชมพู

     4.  รองเท้าบูทมีสีน้ำตาล และคนที่ซื้อไม่ใช่คนนามสกุลเวสต์

     5.  นามสกุลของแซลลี่ไม่ใช่สตีเวนส์ และรองเท้าคู่โปรดของเธอคือรองเท้าปั๊มพ์

     6.  คลาริสซี่ไม่ได้ซื้อรองเท้าแฟลท ( flats – รองเท้าส้นเตี้ย )


     7.  นามสกุลของมาร์กาเร็ตไม่ใช่พาร์คเกอร์ และเธอซื้อรองเท้าแซนเดิล ( sandals – รองเท้าแตะ ) ซึ่งไม่ใช่สีดำ



 ประเด็นการอภิปราย 1.  วิธีการวิเคราะห์และสังเกต   2.  ประโยชน์ของกิจกรรม 


























คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน – ความคิดคณิตศาสตร์ 4



คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันความคิดคณิตศาสตร์  4


กิจกรรมที่ 2  สถานการณ์ปัญหา

วัตถุประสงค์     ฝึกทักษะด้าน การคิดขั้นพื้นฐาน  การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน และการให้เหตุผล

จำนวนผู้เล่น รายบุคคล หรือ ทีมละ  2 – 5  คน

เวลาทำกิจกรรม ไม่เกิน 15  นาที                                       เวลาอภิปรายสรุปกิจกรรม ประมาณ  10 – 20  นาที



คำสั่ง  ให้หาคำตอบจากสถานการณ์ปัญหาที่กำหนดให้
สถานการณ์ปัญหา
     สมศรีนำขนมไปขายที่ตลาดจำนวน  24  ห่อ ขายห่อละ  7  บาท  ตอนเช้าขายได้น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนขนมทั้งหมด พอตอนบ่ายสมศรีลดราคาขายลงมาแต่ยังคงขายในราคาที่เป็นจำนวนเต็มบาทและคิดราคาเท่าๆ กันทุกห่อ  เมื่อสมศรีขายขนมหมดพบว่าได้เงินรวมทั้งสิ้น  132  บาท   ให้หาว่าในตอนเช้าสมศรีขายขนมได้กี่ห่อ
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………

 ประเด็นอภิปราย 1.  แนวคิดหรือวิธีการหาคำตอบ  2.  ประโยชน์ของกิจกรรม 








กิจกรรมที่ 2  สถานการณ์ปัญหา

     สมศรีนำขนมไปขายที่ตลาดจำนวน  24  ห่อ ขายห่อละ  7  บาท  ตอนเช้าขายได้น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนขนมทั้งหมด พอตอนบ่ายสมศรีลดราคาขายลงมาแต่ยังคงขายในราคาที่เป็นจำนวนเต็มบาทและคิดราคาเท่ากันทุกห่อ  หลังจากขายขนมที่เหลือไปได้หมดสมศรีได้เงินมาทั้งสิ้น  132  บาท   ในตอนเช้าสมศรีขายขนมได้กี่ห่อ






            จากตารางจะเห็นได้ว่ามีคำตอบที่ได้ผลรวมเงิน 132  บาท  หลายคำตอบ แต่โจทย์กำหนดว่าตอนเช้าขายขนมได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของขนม  24  ห่อ  แสดงว่าตอนบ่ายสมศรีต้องขายขนมมากกว่า  12  ห่อ
          ดังนั้นคำตอบที่ถูกต้อง คือ สมศรีลดราคาห่อละ  2  บาท  ขายห่อละ  5  บาท  โดยขายไป  18  ห่อ
          แสดงว่าตอนเช้าสมศรีขายขนมห่อละ  7  บาท ได้จำนวน  6  ห่อ