วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

คณิตศาสตร์กับความรัก (1)



คณิตศาสตร์กับความรัก

          วันที่  14  กุมภาพันธ์ เป็นวันที่เด็กไทยส่วนมากรู้จักกันดีว่าเป็นวันแห่งความรัก  และมักจะเสียเงินจำนวนหนึ่งไปกับสิ่งที่เชื่อว่าเป็นตัวแทนของความรัก เช่น ดอกกุหลาบ  ช็อกโกแลต หรือของขวัญอื่นๆ  เพื่อนำไปให้กับคนที่ตนรัก  มีคนหลายคนสงสัยว่าทำไมเด็กไทยจึงจดจำวันวาเลนไทน์ได้ดี แต่บอกไม่ได้ว่าในปีนั้นๆ วันวิสาขบูชาตรงกับวันใด  คำตอบที่แสนจะเรียบง่ายก็คือประเทศไทยใช้ปฏิทินสากลซึ่งเป็นปฏิทินสุริยคติทั้งในการเรียนและการทำงาน  ดังนั้นวันวาเลนไทน์จึงไม่เคยเปลี่ยนไปจากวันที่  14  กุมภาพันธ์เลยแม้แต่ปีเดียว  แต่ในขณะเดียวกันวันวิสาขบูชากำหนดตามปฏิทินไทยซึ่งเป็นปฏิทินจันทรคติ  ดังนั้นวันวิสาขบูชาจึงไม่ใช่วันเดิมของทุกปีในปฏิทินสากล   เด็กๆ จึงไม่จำ  แต่ถ้าถามว่าวันวิสาขบูชามีความสำคัญอย่างไรก็เชื่อได้ว่าเด็กทุกคนตอบได้ถูกต้องอย่างแน่นอน

          ตัวแทนของความรักอย่างหนึ่งก็คือรูปหัวใจ ซึ่งคณิตศาสตร์มีวิธีการสร้างรูปหัวใจหลายวิธี การทำรูปหัวใจมอบให้ในวันแห่งความรักจะทำให้เกิดความประทับใจมีความรู้สึกที่ดีต่อกันทั้งผู้ให้และผู้รับ  ไม่ว่าจะเป็นความรักของลูกที่มีต่อพ่อแม่  ความรักระหว่างเพื่อนกับเพื่อน  ความรักที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ หรือความรักที่มีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่นี้เป็นต้นไปขอให้เรามอบ “ หัวใจคณิตศาสตร์ “ เป็นของขวัญวันแห่งความรักกันดีกว่า  ภูมิใจทั้งผู้ให้และผู้รับเพราะมีเพียงชิ้นเดียวในโลก  เนื่องจากไม่ว่าจะทำซ้ำกี่ครั้งก็ตามแต่ละชิ้นก็จะแตกต่างกัน




สร้างรูปหัวใจด้วยรูปเรขาคณิต (1)

          เราสามารถใช้รูปพื้นฐานทางเรขาคณิต เช่น รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก  รูปวงกลม  หรือรูปสามเหลี่ยม สร้างให้เป็นรูปหัวใจได้


“ สร้างรูปหัวใจด้วยรูปเรขาคณิต ”   เรียบเรียงจากเว็บไซต์  http://www.mathematische-basteleien.de/heart.htm




หัวใจดวงที่ 1

          ขั้นที่ 1     สร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  ABCD





          ขั้นที่ 2     แบ่งครึ่งด้าน  AB  และด้าน  BC  ที่จุด  และจุด  F  ตามลำดับ


          ขั้นที่ 3     นำวงเวียนมาใช้  โดยให้จุด  E  และจุด  F  เป็นจุดศูนย์กลาง ความยาวรัศมีเท่ากับ  EA  เขียนครึ่งวงกลมบนด้าน  AB  และบนด้าน  BC  ตามลำดับ


          ขั้นที่ 4     ลบส่วนที่ไม่ใช้ออก หมุนภาพเพื่อปรับตำแหน่ง และเติมสี หรือตกแต่งตามชอบ








หัวใจดวงที่ 2

          ขั้นที่ 1     สร้างรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า  ABC





          ขั้นที่ 2     แบ่งครึ่งฐาน  BC  ที่จุด  D   จากนั้นแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรง  BD  และ  DC  ที่จุด  E  และ  ตามลำดับ




          ขั้นที่ 3     ใช้วงเวียน โดยให้จุด  และ  F  เป็นจุดศูนย์กลาง ความยาวรัศมีเท่ากับ  EB  เขียนครึ่งวงกลมบนส่วนของเส้นตรง  BD  และ  CD  ตามลำดับ





     ขั้นที่ 4     ลบส่วนที่ไม่ใช้ออก หมุนภาพเพื่อปรับตำแหน่ง และเติมสี หรือตกแต่งตามชอบ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น