“ รหัสลับสลับเลข “
มายากลชุดนี้มีต้นแบบมาจากรายการโทรทัศน์ที่มีชื่อภาษาไทยว่า “ฉลาดสุดๆ”
ทางช่อง 9 อสมท. คืนวันพฤหัสบดี
แต่นานมากแล้ว จำวันที่ออกอากาศไม่ได้ โดยจะใช้การคำนวณขั้นพื้นฐานมาสร้างเป็นรหัสลับที่ดูเหมือนจะมีความซับซ้อน แต่นักมายากลคณิตศาสตร์สมัครเล่น ก็สามารถไขปริศนาได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ
นักมายากล ให้ผู้ชมเลือกจำนวนที่มีค่าไม่เกิน 100 ไว้ในใจหนึ่งจำนวน
และตัวเลขทั้งสองหลักต้องไม่ซ้ำกัน
เช่นเลือก 1 ได้ เพราะเมื่อเขียนเป็นสองหลักจะหมายถึง 01
แต่เลือก 22 ไม่ได้ เพราะตัวเลขซ้ำกัน
เมื่อผู้ชมเลือกจำนวนได้แล้ว
นักมายากลบอกให้ผู้ชมสลับที่ตัวเลขทั้งสอง
คือเปลี่ยนตัวเลขในหลักหน่วยไปอยู่ในหลักสิบ
และเอาตัวเลขในหลักสิบไปไว้ในหลักหน่วย
เช่น จำนวนที่เลือก คือ 47
ให้สลับที่ตัวเลขได้จำนวนใหม่เป็น 74
นักมายากลบอกให้ผู้ชมหาผลต่างของจำนวนทั้งสอง
โดยให้จำนวนที่มีค่ามากกว่าเป็นตัวตั้ง แล้วลบออกด้วยจำนวนที่มีค่าน้อยกว่า และจำคำตอบที่ได้เอาไว้ หรือจะเขียนเพื่อกันลืมก็ได้ แต่อย่าให้นักมายากลเห็นเป็นอันขาด เช่น
เลือก 47 สลับที่ได้เป็น 74 ดังนั้นหาผลต่างได้ดังนี้ 74 –
47 = 27 จำคำตอบ 27
ไว้ในใจ
เมื่อผู้ชมหาผลต่างเรียบร้อยแล้ว
นักมายากลหยิบกระดาษรหัสลับขึ้นมา 1 แผ่น
และส่งให้ผู้ชมดูว่าจำนวนที่เป็นคำตอบนั้นตรงกับตัวอักษรใด นักมายากลรับกระดาษรหัสลับคืน หลับตาทำสมาธิ 2 – 3
วินาที และเมื่อลืมตาขึ้นก็บอกตัวอักษรตัวนั้นได้ถูกต้อง
( ผู้ชมปรบมือแสดงความชื่นชม นักมายากลคำนับผู้ชม จบการแสดงมายากลชุด รหัสลับสลับเลข )
ทำได้อย่างไร
ก่อนอื่นต้องขอให้ทำความเข้าใจเรื่องระบบเลขฐานสิบกันก่อน ระบบเลขฐานสิบเป็นระบบเลขฐานที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน มีสัญลักษณ์ใช้อยู่สิบตัว คือ 0 , 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , 7 , 8 และ 9 โดยมีค่าประจำหลักดังนี้
เช่น
จำนวน 4,503.217 สามารถเขียนกระจายตามหลักได้ดังนี้
4,503.217 =
( 4 x 103 ) + ( 5 x 102 ) + ( 0 x 101 ) + ( 3 x 100 ) + ( 2 x 10–1 ) + ( 1 x 10–2 ) + ( 7 x 10–3 )
=
4000 + 500 + 0 + 3 + 0.2 + 0.01 + 0.007
กลับมาที่การแสดงมายากล สมมุติว่าผู้ชมเลือกจำนวนเลขสองหลัก คือ AB โดยที่ A
และ B ไม่ใช่ตัวเลขตัวเดียวกัน
เพราะไม่ให้ใช้จำนวนที่มีตัวเลขซ้ำกัน
เมื่อเขียนกระจายตามหลักจะได้ AB = (
A x 101 ) + ( B x 100 )
= 10A + B
และเมื่อมีการสลับตำแหน่งจะได้เป็นจำนวน BA
ดังนั้น BA = 10B + A
ดังนั้น BA = 10B + A
ต่อไปให้หาผลต่างของจำนวนทั้งสอง ซึ่งหมายความว่าให้นำจำนวนที่มีค่ามากกว่าเป็นตัวตั้งแล้วลบออกด้วยจำนวนที่มีค่าน้อยกว่า
กรณีที่ 1 ถ้า AB
มีค่ามากกว่า BA ( เช่น
52 มีค่ามากกว่าจำนวนที่สลับที่
คือ 25
)
จะได้ผลต่าง = AB –
BA
= ( 10A + B ) – ( 10B + A )
= 10A + B – 10B – A
= 9A – 9B
= 9 ( A – B )
กรณีที่ 2 ถ้า AB มีค่าน้อยกว่า BA
( เช่น 39
มีค่าน้อยกว่าจำนวนที่สลับที่ คือ
93 )
จะได้ผลต่าง = BA –
AB
= ( 10B + A ) – ( 10A + B )
= 10B + A – 10A – B
= 9B – 9A
= 9 ( B – A )
จากทั้งสองกรณีจะเห็นได้ว่าค่าของผลต่างเป็นพหุคูณของ
9 หรือก็คือค่าของผลต่างที่ได้ต้องมี 9
เป็นตัวคูณอยู่ด้วยเสมอ ในขณะที่ค่าของ A – B หรือ B
– A
สามารถเป็นได้ตั้งแต่ 1 ถึง 9 แสดงว่าผลต่างที่ได้จะต้องเป็นเพียงค่าใดค่าหนึ่งต่อไปนี้เท่านั้น คือ 9
, 18 , 27 , 36 , 45 , 54 , 63 , 72
หรือ 81
ดังนั้นในการสร้างแผ่นรหัสลับ ตัวอักษรที่จะเขียนอยู่กับตัวเลข 9 ,
18 ,
27 , 36 , 45 , 54 , 63 , 72 หรือ 81 ต้องเป็นตัวอักษรตัวเดียวกัน
ซึ่งนักมายากลจะสามารถทายตัวอักษรได้ทันที แต่ต้องสร้างแผ่นรหัสลับที่ไม่ให้ผู้ชมสังเกตพบลักษณะพิเศษนี้ได้ง่าย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าต้องแสดงซ้ำหลายครั้งก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำแผ่นรหัสลับที่แตกต่างกันออกไปหลายๆ
แบบ
ตัวอย่างแผ่นรหัสลับ
ตัวอย่างแผ่นรหัสลับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น