วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์ 27 - Critical Thinking 26

Critical Thinking ม.5 – ม.6
หาคำตอบที่ถูกต้อง

1.  รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  PQRS  แบ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสแปดรูป (ดังรูป)   รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่แรเงาแต่ละรูปมีด้านยาว  10  หน่วย   รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสรูปที่ใหญ่สุดมีด้านยาวกี่หน่วย












ตอบ   ...................................................
คำตอบ      24   หน่วย 
       สมมุติให้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่เล็กสุดแต่ละรูปมีด้านยาว  หน่วย   ดังนั้นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสรูปใหญ่สุดมีด้านยาว  4หน่วย 
        เพราะว่า         PS   =   QR
         จะได้       4x + x   =   10 + 10 + 10
                            5x   =   30
                              x   =   6




2.   ลูกเต๋าหกลูกวางซ้อนกัน ดังรูป   โดยที่ลูกเต๋าแต่ละลูกจะมีหน้า 1  อยู่ตรงข้ามหน้า 6  ,  หน้า 2  อยู่ตรงข้ามหน้า 5  และ หน้า 3  อยู่ตรงข้ามหน้า 4     แต้มบนหน้าลูกเต๋าที่มองเห็น  21  หน้า จะมีผลรวมที่มีค่ามากที่สุดได้เท่ากับเท่าใด












ตอบ   ...................................................

คำตอบ      89  












       ลูกเต๋า P เห็นได้ห้าหน้า ดังนั้นหน้า 1 ต้องมองไม่เห็น
          ลูกเต๋า P  มีแต้ม  =  2 + 3 + 4 + 5 + 6  = 20
       ลูกเต๋า Q และ S เห็นได้สามหน้า ดังนั้นต้องเห็นหน้า 6  และอีกสองหน้ารวมกันได้ 7 
          ลูกเต๋า และ  S  มีแต้ม  =  6 + 7 + 6 + 7  = 26
         ลูกเต๋า R และ U เห็นได้สี่หน้า ดังนั้นมีแต้ม  =  7 + 5 + 6 + 7 + 5 + 6  = 36
            ลูกเต๋า T เห็นได้สองหน้า ดังนั้นมีแต้ม  =  7
        ผลรวมทั้งหมด  =   20 + 26 + 36 + 7  =  89


3.   กำหนดให้   a  ,  b  และ   c  เป็นจำนวนจริง  โดยที่








    ค่าของ   c   เท่ากับเท่าใด
  ตอบ   ...................................................

คำตอบ      7  


























4.   จากรูป  จุด  K  ,  O  และ  M  เป็นจุดศูนย์กลางของครึ่งวงกลมสามวง มี  OC = 32  และ  CB = 36











(1)   ส่วนของเส้นตรง  AC  กี่หน่วย
(2)   ครึ่งวงกลมที่  เป็นจุดศูนย์กลางมีพื้นที่กี่ตารางหน่วย
(3)   ส่วนที่แรเงามีพื้นที่กี่ตารางหน่วย
(4)   ถ้า มีเส้นสัมผัสครึ่งวงกลมเล็กทั้งสองที่จุด  และ  E  แล้ว  รูปสี่เหลี่ยม  KSEM  มีพื้นที่กี่ตารางหน่วย  
  ตอบ   (1)   ...................................................                           (2)   ...................................................
            (3)   ...................................................                          (4)   ...................................................

คำตอบ     (1)   OA = OB = OC + CB = 32 + 36 = 68    ดังนั้น   AC = AO + OC = 68 + 32 = 100
              (2)  รัศมี AK = 50    จะได้ พื้นที่ครึ่งวงกลม = 1250p 
              (3)  พื้นที่ส่วนที่แรเงา  พื้นที่ครึ่งวงกลม O – พื้นที่ครึ่งวงกลม K – พื้นที่ครึ่งวงกลม M  
                                                   900p
              (4)  ส่วนของเส้นตรง KS และ ME ตั้งฉากกับเส้นสัมผัส (รัศมีจะตั้งฉากกับเส้นสัมผัสที่จุดสัมผัส)
                    ลากส่วนของเส้นตรง MQ ตั้งฉากกับรัศมี KS    จะได้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก MQSE












                    KS = KC = 50   และ  ME = MC = MB = 18
                    ดังนั้น  MK = MC + KC = 18 + 50 = 68  
                    และ  QS = ME = 18   จะได้  KQ = KS – QS = 50 – 18 = 32 
                    โดยทฤษฎีพีทาโกรัส   MK 2 =  KQ 2 + MQ 2   จะได้  MQ = 60
                    เพราะว่า KSEM เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู
                    ดังนั้นพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม KSEM  =  0.5 x (ME + KS) x MQ 
                                                               =  0.5 x (18 + 50) x 60

                                                               =  2040 



5.   จะใช้จำนวน  0 , 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6  และ  7  เป็นจุดมุมของลูกบาศก์ ในรูปจะแสดงตำแหน่งของ  0 , 2  และ 3 ถ้า ทุกขอบมีผลรวมของจำนวนที่จุดปลายขอบเป็นจำนวนเฉพาะ แล้ว ค่าของ M + N + P + Q  เท่ากับเท่าใด














ตอบ    .......................................................................................................................................................
คำตอบ     18
วิธีที่ 1   เพราะว่า M + N + P + Q + R  =  1 + 4 + 5 + 6 + 7  =  23  ดังนั้นถ้าหาค่า R ได้ ก็จะได้คำตอบ
        R  เป็น  1  ไม่ได้ เพราะ 0 + 1 = 1  ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ
                (ผลรวมของจำนวนที่จุดปลายขอบเป็นจำนวนเฉพาะ)
        R  เป็น  4  ไม่ได้ เพราะ 0 + 4 = 4  ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ
        R  เป็น  6  ไม่ได้ เพราะ 0 + 6 = 6  ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ
        R  เป็น  7  ไม่ได้ เพราะ 2 + 7 = 9  ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ
        จะได้  R =  5  ดังนั้น M + N + P + Q  =  23 – 5  = 18

วิธีที่ 2     Q = 4  เพราะ 4 + 3 = 7  เป็นจำนวนเฉพาะ  (1+3 , 5+3 , 6+3 และ 7+3 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ)
            เพราะว่าทั้ง M + 0  และ M + 4  ต้องเป็นจำนวนเฉพาะ  ดังนั้น M = 7
            เพราะว่าทั้ง P + 2  และ P + 4  ต้องเป็นจำนวนเฉพาะ  ดังนั้น P = 1
            เพราะว่าทั้ง N + 7  และ N + 1  ต้องเป็นจำนวนเฉพาะ  ดังนั้น N = 6
            และเมื่อ R = 5  จะได้  5 + 0  และ  5 + 2  เป็นจำนวนเฉพาะ

     ดังนั้น M + N + P + Q  =  7 + 6 + 1 + 4  = 18




6.   ในลำดับ   5 , p , q , 13 , r , 40 , x    พจน์ที่มีสามพจน์อยู่ข้างหน้าจะมีค่าเท่ากับผลบวกของสามพจน์นั้น ดังนั้น  x  มีค่าเท่าใด
ตอบ    .......................................................................................................................................................
คำตอบ     74
      5 + p + q  =  13    จะได้   p + q  =  8
      p + q + 13  =  r    จะได้   r  =  8 + 13  =  21

      ดังนั้น   x  =  13 + 21 + 40  =  74











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น