วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ความคิดสร้างสรรค์ 01 ( สมองกับการคิด 1 )


ความคิดสร้างสรรค์ – creative thinking
    เรียบเรียงจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ดังนี้
1.   http://elearning.aru.ac.th/2513302/soc06/topic12/linkfile/print5.htm
2.   https://sites.google.com/site/krunoinetwork/khwam-khid-srangsrrkh-kab-kar-reiyn-ru
3.   http://www.dek-d.com/article/25654/
4.   http://www.glencoe.com/sec/busadmin/entre/teacher/creative/
5.   http://en.wikipedia.org/wiki/J.P._Guilford
6.   http://en.wikipedia.org/wiki/Ellis_Paul_Torrance
7.   http://edwdebono.com/course
8.   www.poungkramschool.com/files/Art.pdf
9.   www.nrdo.navy.mi.th/jreport/mmaga/.../p11248.pdf
10.  วีณา ประชากูล   วารสารวิชาการปีที่ 9  ฉบับที่ 3  กรกฎาคม – กันยายน  2549
11.  http://educationmuseum.wordpress.com/2013/03/16/test-of-creative-thinking-drawing-production/
12.  แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จากผลการวาดภาพ TCT – DP  โรงเรียนเมรี่อิมมาคุเลตคอนแวนต์  อำเภอเมือง   จังหวัดชลบุรี  :  learn.rru.ac.th/moodle/moodle/file.../1/.../_TCT.docx
13.  https://sites.google.com/site/krunoinetwork/khwam-khid-srangsrrkh-kab-kar-reiyn-ru
14.  http://www.bsru.ac.th/study/decision/ex1/a1.htm
15.  http://www.ds.ru.ac.th/math/braind%20new_page_1.htm


ภาพจาก  http://kruthai40.ning.com/profiles/blogs/creative-thinking


ความคิดสร้างสรรค์  01  ( สมองกับการคิด 1 )

ความหมายของการคิด
     การคิดเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมองที่ใช้สัญลักษณ์หรือภาพแทนสิ่งของ เหตุการณ์ หรือสถานการณ์ต่างๆ โดยมีการจัดระบบความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ซึ่งเป็นประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่หรือสิ่งเร้าใหม่  ทั้งในรูปแบบธรรมดาและสลับซับซ้อน  ผลจากการจัดระบบสามารถแสดงออกได้หลายลักษณะ เช่น การให้เหตุผล การแก้ปัญหาต่างๆ

โครงสร้างทางสมองกับการคิด
    โรเจอร์  สเปอร์รีย์  และ โรเบิร์ต  ออร์นสไตล์  จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนียได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ.1972  จากการค้นพบว่าสมองของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ซีก คือสมองซีกซ้าย (Left Hemisphere) กับสมองซีกขวา (Right Hemisphere)  และแต่ละซีกมีหน้าที่ที่แตกต่างกันดังนี้

สมองซีกซ้ายจะควบคุมดูแลพฤติกรรมของมนุษย์ในเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้
     1.  การคิดในทางเดียว (คิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง)
     2.  การคิดวิเคราะห์ (แยกแยะ)
     3.  การใช้ตรรกศาสตร์และการใช้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์
     4.  การใช้ภาษา มีทั้งการอ่านและการเขียน
     สรุปได้ว่าสมองซีกซ้ายจะควบคุมดูแลพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผล การคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นลักษณะการทำงานในสายของวิชาทางวิทยาศาสตร์ (Sciences) เป็นส่วนใหญ่  นอกจากนี้สมองซีกซ้ายยังเป็นตัวควบคุมการกระทำ การฟัง การเห็น และการสัมผัสต่างๆ ของร่างกายทางซีกขวา

สมองซีกขวาจะควบคุมดูแลพฤติกรรมของมนุษย์ในเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้
     1.  การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
     2.  การคิดแบบเส้นขนาน (คิดหลายเรื่อง แต่ละเรื่องจะไม่เกี่ยวข้องกัน)
     3.  การคิดสังเคราะห์ (สร้างสิ่งใหม่)
     4.  การเห็นเชิงมิติ (กว้าง ยาว ลึก)
     5.  ดนตรี   ศิลปะ   จินตนาการ
     6.  การเคลื่อนไหวของร่างกาย ความรัก ความเมตตา รวมถึงสัญชาติญาณและลางสังหรณ์ต่างๆ
     สรุปได้ว่าสมองซีกขวาจะควบคุมดูแลพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ จริยธรรม อารมณ์ ซึ่งเป็นลักษณะการทำงานในสายของวิชาทางศิลปศาสตร์ (Arts) เป็นส่วนใหญ่ และยังเป็นตัวควบคุมการทำงานของร่างกาย
ทางซีกซ้ายด้วย


ภาพจาก  http://www.ds.ru.ac.th/math/braind%20new_page_1.htm


ตารางต่อไปนี้แสดงความถนัดและสไตล์การเรียนรู้ของสมองแต่ละซีก

สมองซีกซ้าย(Left  Hemisphere)
สมองซีกขวา (Right  Hemisphere)
  •  รับรู้จากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่
  • เห็นเป็นภาพรวมและสมบูรณ์
  • ชอบคิดเลขและคำนวณต่างๆ
  • มีความสามารถในตีความหมายของสัญลักษณ์ตัวเลข  ตัวอักษร
  • ชอบเรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริงๆ
  • การเรียนรู้อาศัยความจริงเป็นพื้นฐาน
  • ถนัดในการกระทำตามกรอบที่วางไว้
  • อาศัยจินตนาการ  ความคิดสร้างสรรค์
  • สื่อสารด้วยภาษาพูดและภาษาเขียน
  • สื่อสารโดยไม่ต้องอาศัยตัวหนังสือหรือคำพูด แต่จะใช้  ท่าทางหรือภาษากายได้ดี
  • ถนัดจัดเรียงลำดับ
  • ไม่มีลำดับขั้นตอนในการคิดที่แน่ชัด


     การศึกษาในโรงเรียนในระบบเดิมให้ความสำคัญมากกับการใช้สมองซีกซ้าย ส่งเสริมให้เด็กได้รับการฝึกฝนความสามารถในการใช้เหตุผล การใช้ภาษา อยากให้เด็กๆ มีอาชีพ เป็นแพทย์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ ส่วนการส่งเสริมทางด้านความคิดสร้างสรรค์มีน้อย ดังเช่น ว่านอนสอนง่าย”   “ เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด ”    ต่อมาเห็นความสำคัญกับการใช้สมองซีกขวาดังตัวอย่างเช่น การส่งเสริมการแสดงออกแบบต่างๆ  การส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กเรียนทางด้านการออกแบบ การแสดง การประชาสัมพันธ์   จากการที่สมองทั้ง 2  ซีกทำหน้าที่ต่างกัน  เราจึงสามารถสรุปเกี่ยวกับลักษณะของบุคคลซึ่งใช้สมองด้านใดด้านหนึ่งมากกว่าอีกด้านหนึ่งได้ ดังนี้
     คนที่ทำงานโดยใช้สมองซีกขวามากกว่าซีกซ้าย จะมีลักษณะเด่นที่แสดงออกคือ เป็นคนที่ทำอะไรตามอารมณ์ตนเอง อาจมีอารมณ์อ่อนไหวได้ง่าย แต่จะเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง   เหมาะสำหรับการเป็นนักออกแบบ เป็นศิลปิน
     คนที่ทำงานโดยใช้สมองซีกซ้ายมากกว่าซีกขวา จะมีลักษณะเด่นที่แสดงออกคือ ทำงานอย่างเป็นระบบ  เป็นขั้นเป็นตอน  เป็นเหตุเป็นผล ด้วยความคิดเชิงวิเคราะห์ เปรียบเทียบ   เหมาะสำหรับงานทางด้านวิทยาศาสตร์  การออกแบบระบบงานต่างๆ  แต่อาจทำให้ไม่ได้คำนึงถึงจิตใจของคนรอบข้างมากนัก

     จากข้อสรุปดังกล่าว จะเห็นว่าถ้าเราใช้สมองด้านใดด้านหนึ่งมากกว่าอีกด้านหนึ่ง อาจจะทำให้เกิดผลเสียได้  ดังนั้นเราทุกคนควรใช้สมองทั้งสองซีก  เมื่อเจอปัญหา การหาทางแก้ปัญหาเราใช้สมองซีกขวา ใช้จินตนาการ ในการหาหนทางแก้ปัญหา โดยคิดถึงผลที่ได้โดยรวมซึ่งคิดได้หลายวิธี แต่ในขณะเดียวกันเราก็ใช้สมองซีกซ้ายเพราะว่าเราจำเป็นต้องรู้ว่าอะไรคือความจริงเพื่อใช้ความสามารถในการวิเคราะห์และการจัดการเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

ตัวอย่างกิจกรรม  อาหารมื้อต่อไป ให้ลองพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้
(การใช้สมองซีกซ้าย)
     1.  ในอาหารมื้อนี้ ได้ธาตุอาหารครบหมู่ หรือไม่
     2.  มีไขมันมากเกินไปหรือเปล่า
     3.  มีโปรตีนเพียงพอหรือไม่
     4.  ใช้เวลาหลังอาหารพิจารณาว่าต้องทำอะไรต่อไป

(การใช้สมองซีกขวา)
     1.  สีสัน และลักษณะของอาหารแต่ละอย่างเป็นอย่างไร
     2.  น้ำซอสหรือน้ำมันที่ใส่ หรือเหยาะลงบนอาหารไหลไปในทิศทางใด
     3.  กลิ่นอาหารเป็นอย่างไร
     4.  รสของอาหาร และอุณหภูมิของอาหารมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ และอย่างไร







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น