วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ความคิดสร้างสรรค์ 02 ( สมองกับการคิด 2 )



โครงสร้างสมรรถภาพทางสมอง

     กิลฟอร์ด (Guilford, 967.) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้ศึกษาโครงสร้างสมรรถภาพทางสมองโดยเน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ความมีเหตุผลและการแก้ปัญหา จนได้แบบจำลองโครงสร้างสมรรถภาพทางสมองดังภาพ



ภาพรูปแบบโครงสร้างสมรรถภาพทางสมองของกิลฟอร์ด
ภาพจาก   http://www.bsru.ac.th/study/decision/ex1/a1.htm


รูปแบบโครงสร้างสมรรถภาพทางสมองของกิลฟอร์ดเป็นระบบสามมิติประกอบด้วย
     1.  มิติทางด้านเนื้อหาการคิด (contents) หมายถึง วัตถุหรือข้อมูลต่างๆ ที่รับรู้ ใช้เป็นสื่อก่อให้เกิดการคิดเนื้อหา  แบ่งเป็น 5 ชนิด คือ
     - เนื้อหาที่เป็นภาพ (figural content) หมายถึง ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นรูปธรรมต่างๆ บุคคลสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส
     - เนื้อหาที่เป็นเสียง (auditory content) หมายถึง สิ่งที่อยู่ในรูปของเสียงที่มีความหมาย
     - เนื้อหาที่เป็นสัญลักษณ์ (symbolic content) หมายถึง ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่อยู่ในรูปเครื่องหมายต่างๆ  เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รวมทั้งสัญลักษณ์ต่างๆ
     - เนื้อหาที่เป็นภาษา (semantic content) หมายถึง ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่อยู่ในรูปถ้อยคำที่มีความหมายต่างๆ กัน สามารถใช้ติดต่อสื่อสารได้
     - เนื้อหาที่เป็นพฤติกรรม (behavior content) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นการแสดงออกของมนุษย์ เจตคติ ความต้องการ รวมถึง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การกระทำที่สามารถสังเกตได้

     2.  มิติด้านวิธีการคิด (operations) หมายถึง กระบวนการคิดต่างๆ ที่สร้างขึ้น ประกอบด้วยความสามารถ 5 ชนิด ดังนี้
     - การรู้และการเข้าใจ (cognition) เป็นความสามารถทางสติปัญญาของมนุษย์ในการรับรู้และทำความเข้าใจ
     - การจำ(memory) เป็นความสามารถทางสติปัญญาของมนุษย์ในการเก็บสะสมความรู้และข้อมูลต่างๆ และสามารถระลึกได้เมื่อต้องการใช้
     - การคิดแบบอเนกนัย (divergent thinking) เป็นความสามารถในการคิดคล่องและคิดหลากหลาย นั่นคือสามารถที่จะคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ให้ได้ผลของการคิดจำนวนมาก รวดเร็ว ตรงประเด็น หรือหลายรูปแบบ และเป็นความสามารถในการคิดริเริ่ม ซึ่งเป็นการคิดที่มีลักษณะหรือมุมมองใหม่ๆ
    - การคิดแบบเอกนัย (convergent thinking) เป็นความสามารถในการสรุปคำตอบที่ดีที่สุด ถูกต้องที่สุด จากข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่มีหลากหลาย
     - การประเมินค่า (evaluation) เป็นความสามารถทางสติปัญญาในการตัดสินสิ่งที่รับรู้ สิ่งที่จำได้ หรือกระบวนการคิดนั้นว่ามีคุณค่า ถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่ โดยอาศัยเกณฑ์ที่ดีที่สุด

     3.  มิติด้านผลของการคิด (products) หมายถึง ความสามารถที่เกิดจากการผสมผสานมิติด้านเนื้อหาและด้านปฏิบัติการเข้าด้วยกันเป็นผลผลิต เมื่อสมองรับรู้จากสิ่งเร้าทำให้เกิดการคิดในรูปแบบต่างๆ กัน ซึ่งผลที่ได้แบ่งเป็น 6 ชนิดคือ
     - หน่วย (unit) หมายถึง สิ่งที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากสิ่งอื่นๆ  เช่น โต๊ะ ตู้ เสือ เป็นต้น
     - จำพวก (class) หมายถึง ประเภทหรือกลุ่มของหน่วยที่มีลักษณะร่วมกัน เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ คน สุนัข แมว เป็นต้น
     - ความสัมพันธ์ (relation) หมายถึง ผลของการเชื่อมโยงความคิดของประเภทหรือหลายประเภทเข้าด้วยกัน เช่น สิงโตคู่กับป่า ปลาคู่กับน้ำ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับที่อยู่อาศัย
     - ระบบ (system) หมายถึง การเชื่อมโยงกลุ่มของสิ่งเร้า โดยอาศัยกฎเกณฑ์หรือแบบแผนบางอย่าง เช่น  2 , 4 ,  6 , 8  เป็นระบบเลขคู่
     - การแปลงรูป (transformation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง ตีความ ขยายความ ให้นิยามใหม่
     - การประยุกต์ (implications) หมายถึง การคาดคะเน หรือทำนายจากข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่กำหนด

     โครงสร้างทางสติปัญญาตามทฤษฎีของกิลฟอร์ดประกอบด้วยหน่วยจุลภาคจากทั้งสามมิติ เท่ากับ 5 x 5 x 6  คือ 150 หน่วย แต่ละหน่วยประกอบด้วย เนื้อหาปฏิบัติการผลผลิต (contents – operations – products)
     นอกจากนี้กิลฟอร์ดได้อธิบายเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ (creative thinking ) โดยเทียบกับโครงสร้างทางสติปัญญาที่กล่าวมาแล้ว และนำมาศึกษาเฉพาะส่วนที่เป็นกระบวนการคิด ด้านการคิดแบบอเนกนัย โดยใช้มิติด้านเนื้อหา และผลผลิต ทำให้ได้หน่วยจุลภาคที่แทนความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์อยู่ที่ 1 x 5 x 6  ดังภาพ


ภาพแสดงสมรรถภาพด้านความคิดสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด
                                   ภาพจาก   http://www.bsru.ac.th/study/decision/ex1/a1.htm




ต่อไปนี้เป็นการฝึกสมองเล็กๆ น้อยๆ 
( ทั้งหมดมาจาก  http://www.ds.ru.ac.th/math/braind%20new_page_1.htm )

     1.  ใครสูงกว่าใคร  คนที่ 1    หรือ คนที่ 2    หรือ  คนที่ 3



             ( คำตอบ  ทุกคนสูงเท่ากัน )





     2.  เส้นสีม่วงมองแล้วรู้สึกว่า  ไม่ใช่เส้นตรง







     3.  หญิงสาว หรือ คนแก่







     4.  ให้อ่านสีที่เขียนคำต่างๆ ด้านล่างนี้  เช่นคำแรกพิมพ์ด้วยสีเขียวก็ให้อ่านว่า "เขียว" อ่านให้เร็วที่สุด
(สมองซีกซ้ายของเราพยายามที่จะอ่านตัวหนังสือ แต่ซีกขวาพยายามจะแปลความหมายของสี จึงทำให้เรารู้สึกงง)







     5.  มีนกกี่ตัว   มีปลากี่ตัว







     6.  มีจุดสีดำกี่จุด 













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น