วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ความคิดสร้างสรรค์ 12 กิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ (1)


กิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
     เรียบเรียงจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ต่อไปนี้ 
1.  http://www.glencoe.com/sec/busadmin/entre/teacher/creative/
2.  http://uhost.rmutp.ac.th/kanlayanee.so/L2/2-3-1-3.htm  
3.  http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/03/X7612896/X7612896.html
4.  สุขหฤทัย  ศิริชาติ , คู่มือฝึกและทดสอบไอคิว  (เรียบเรียงจาก Know Your Own I.Q. (2)  ของ  H.J. Eysenck ).  ห้างหุ้นส่วนจำกัด อักษรบัณฑิต : 2528.


กิจกรรมระดมสมอง ( Brainstorming Activities )
1.  ไม่ใช่แค่อาหารเช้า
     ครูวางกล่องอาหารพร้อมรับประทาน ( หมายถึงอาหารซีเรียลซึ่งทำจากธัญพืช ) ไว้บนโต๊ะหน้าห้องและบอกนักเรียนให้คิดสร้างผลิตภัณฑ์อะไรก็ได้ที่ต้องใช้อาหารในกล่องเป็นส่วนประกอบ  พยายามคิดให้ได้มากที่สุดในเวลา  2  นาที  ( ซึ่งจะต้องยอมรับความคิดแปลกๆ ด้วย  เช่น การใช้อาหารซีเรียลไปเป็นปุ๋ย  หรือนำไปเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องประดับ )


ภาพจาก  http://www.tsgclub.com/5665


2.  ผู้เชี่ยวชาญการแก้ปัญหา
     แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละสามคน  ตั้งชื่อปัญหาในเรื่องที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี เช่น วิธีลดจำนวนคนไร้บ้านที่ใช้ท้องถนนเป็นที่อยู่อาศัย   โดยให้แต่ละกลุ่มหาแนวคิดจากประวัติศาสตร์  เหตุการณ์ปัจจุบัน   หรือนิยาย แล้วกำหนดตัวบุคคลที่จะเป็นผู้แก้ปัญหาและให้ระบุเป้าหมายหรือจุดประสงค์ด้วย ตัวอย่างเช่น
      มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ จะจัดการแก้ไขปัญหาคนไม่มีที่อยู่อาศัยอย่างไร?
     (  Martin Luther King, Jr.  15 มกราคม ค.ศ.1929 – 4 เมษายน ค.ศ.1968   ชาวอเมริกัน เป็นนักบวช  นักกิจกรรม และผู้นำการเคลื่อนไหวสิทธิพลเมืองแอฟริกัน–อเมริกัน  ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Martin_Luther_King,_Jr. )

      หรือ พวกนินจาเต่าจะแก้ปัญหาคนไร้ที่อยู่ที่อยู่บนท้องถนนอย่างไร?
     ( นินจาเต่า The Teenage Mutant Ninja Turtles  หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า Ninja Turtles   เป็นตัวละครในหนังสือการ์ตูน ต่อมาขยายตัวเป็นวิดีโอเกม , ภาพยนตร์ ,  ของเล่น และสินค้าทั่วไปอื่นๆ   จุดสูงสุดของความนิยมอยู่ในช่วงปลายปี ค.ศ.1980  ถึงต้นปี ค.ศ.1990    ได้รับความสำเร็จ และมีชื่อเสียงไปทั่วโลก  ที่มา :  http://en.wikipedia.org/wiki/Teenage_Mutant_Ninja_Turtles )



ภาพจาก  http://www.watchcartoononline.com/teenage-mutant-ninja-turtles-episode-170-get-shredder

      หรือจะเป็น บาร์บาร่า  วอลเตอร์?
          ( บาร์บาร่า จิลล์ วอลเตอร์ส – Barbara Jill Walters  ชาวอเมริกันเป็นนักข่าว , นักเขียน  และคนทีวีtelevision personality  ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Barbara_Walters )

      หรือจะเป็น ท่านนายพล Schwarzkopf?
          ( Herbert Norman Schwarzkopf, Jr.   22 สิงหาคม ค.ศ.1934 27 ธันวาคม ค.ศ. 2012  นายพลแห่งกองทัพสหรัฐอเมริกา เป็นผู้บัญชาการในปฏิบัติการพายุทะเลทราย Operation Desert Storm ในการทำสงครามกับประเทศอิรัก เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1990    ที่มา :  http://en.wikipedia.org/wiki/Norman_Schwarzkopf,_Jr.  และ  http://en.wikipedia.org/wiki/Gulf_War#Operation_Desert_Shield )

     เริ่มต้นกิจกรรมด้วยการแนะนำให้นักเรียนพิจารณาสิ่งที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะของผู้แก้ปัญหา และเขาหรือเธอควรจะมีวัตถุประสงค์อะไร


3.  จะเกิดอะไรขึ้น ... ถ้า ... ?
     แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ประมาณกลุ่มละสิบคน   ให้นักเรียนระดมความคิดช่วยกันตั้งคำถาม  " จะเกิดอะไร  ถ้า ... ? "   ตั้งคำถามให้ได้มากๆ   จากนั้นแต่ละกลุ่มเลือกคำถามของกลุ่มซึ่งอาจเลือกคำถามที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมากที่สุด และตอบคำถามนั้นโดยพยายามให้ได้คำตอบที่หลากหลาย
     คำถามจะเริ่มต้นด้วย  " จะเกิดอะไร  ถ้า ...  "  และตามด้วยสถานการณ์บางอย่างที่ไม่ใช่เรื่องปกติ   ตัวอย่างเช่น  จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า คนไม่จำเป็นต้องนอนหลับ?   หรือ  จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า เรา "เลือก" ประธานาธิบดีโดยการจับสลาก?     
       หลังจากที่กลุ่มได้ตัดสินเลือกคำถามเฉพาะของพวกเขา และหาคำตอบได้แล้ว  ให้นักเรียนทุกคนร่วมกันพิจารณาเปรียบเทียบ และลงคะแนนให้กับคำถามคำตอบที่มีความคิดสร้างสรรค์ดีที่สุด


ภาพจาก  www.inspiredtoshare.com/2012/01/if-not-now-news/


4.  อำนาจในการสงสัย
     แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆ  กลุ่มละ 4 – 6 คน    ให้แต่ละกลุ่มเขียนรายการของกฎที่ไม่เคยมีการบันทึกเป็นหลักฐานเอาไว้แต่เป็นสิ่งที่พวกเขาจะต้องปฏิบัติในแต่ละวัน  จำนวน  10  รายการ   ตัวอย่างเช่น  ร้านขายของชำที่นิยมไปซื้อของ   หรือ  ช่วงเวลาที่ตื่นขึ้นในตอนเช้า  หรือ รายการโทรทัศน์ที่ดู
     สมาชิกในกลุ่มจะมีการปรึกษาหารือ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุผลที่พวกเขาทำตาม "กฎ" ดังกล่าว  และมีอะไรบ้างหรือไม่ที่จะทำให้ไม่ต้องกระทำสิ่งต่างๆ ตามกฎเหล่านั้น
     ทางเลือก :  ลองทำกิจกรรมประเภทเดียวกัน  เช่น  ให้นักเรียนเขียนรายการความเชื่อที่พวกเขายอมรับโดยไม่มีข้อสงสัยว่าจริงหรือไม่    ตัวอย่างเช่น
     - ภาวะถดถอยเป็นเรื่องที่ไม่ดี
       ( ภาวะถดถอย หมายถึง ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง ภาวะการค้าเริ่มซบเซา สินค้าขายได้น้อยลง ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายเริ่มลดการผลิตลงเนื่องจาก ขาดทุน ผลที่ตามมาก็คือมีการเลิกจ้างแรงงาน ใช้ทรัพยากรและปัจจัยในการผลิตลดลง อำนาจซื้อของประชาชนน้อยลง    ภาวะเศรษฐกิจถดถอย เป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรเศรษฐกิจซึ่งประกอบด้วยการ เปลี่ยนแปลง 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงฟื้นฟู ช่วงรุ่งเรือง ช่วงถดถอย และช่วงตกต่ำ   ที่มา : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=26b3c14da93a8f0c )

     - ให้เงินทำงานหาเงิน


ภาพจาก   http://agape.com/forex/PriceActionTrading.htm


5.  อุปมาอุปไมยที่ไม่ปกติ
     แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณสิบคน   ให้แต่ละกลุ่มระดมความคิดเกี่ยวกับการอุปมา อุปไมยซึ่งอาจเป็นแบบเฉียบแหลม  หรือแบบผิดปกติก็ได้   โดยพยายามสร้างเรื่องเปรียบเทียบให้ได้มากที่สุดเท่าที่พวกเขาสามารถจะทำได้   ตัวอย่างเช่น  การไปโรงเรียนเปรียบเหมือนการใช้ลิฟท์  บางวันก็ขึ้น  บางวันก็ลง และบางวันก็จะเจอแต่ปล่องลิฟท์



ทั้งสองภาพจาก   http://www.oknation.net/blog/print.php?id=620621


6.  รากเหง้าของปัญหา
     แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆ  กลุ่มละ  4 – 6  คน   เพื่อวิเคราะห์ปัญหาบางอย่าง  เริ่มต้นโดยให้สมาชิกรวบรวมรายการปัญหาของสมาชิกแต่ละคน  ซึ่งเป็นปัญหาที่สมาชิกกำลังเผชิญอยู่ในช่วงเวลานั้น   ตัวอย่างเช่น  ได้ระดับผลการเรียน (เกรด) ไม่ดี  หรือมีเพื่อนบ้านเป็นพวกชอบทำลายทรัพย์สินคนอื่น    
     วิธีการวิเคราะห์ปัญหา  ให้สมาชิกในกลุ่มถาม–ตอบ   โดยใช้คำถามดังต่อไปนี้:
          1.  ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นที่ไหน
          2.  เกิดขึ้นเมื่อไร
          3.  เกิดขึ้นได้อย่างไร
          4.  เกิดขึ้นกับใคร และใครหรืออะไรเป็นต้นเหตุ




ภาพจาก   http://www.flickr.com/photos/perky/3007707494/

     แต่ละกลุ่มวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้  “ หลักการ 5W 1H  (ระบบข้อเสนอแนะของโตโยต้า) “     Who ใครเป็นผู้ทำ   What ทำอะไร   Where ทำที่ไหน   When ทำเมื่อไร   Why ทำไมทำอย่างนั้น   How ทำอย่างไร   ( ที่มา :  http://uhost.rmutp.ac.th/kanlayanee.so/L2/2-3-1-3.htm  )
     และจบด้วยคำถาม  “  ทำไม “   อีกสี่คำถาม พร้อมทั้งร่วมกันหาคำตอบ ดังนี้  ( ใช้ตัวอย่างกรณีปัญหาการได้เกรดไม่ดี )
          1.  ทำไมฉันได้เกรดไม่ดีในการทดสอบประวัติศาสตร์ ?
                    ( ตอบ ครูไม่ให้คะแนนง่ายๆ )
          2.  ทำไมครูจึงให้คะแนนยาก ?
                    ( ตอบ ครูมีความคาดหวังให้นักเรียนจะต้องเก่งมาก )
          3.  ทำไมครูถึงได้คิดว่านักเรียนจะต้องเก่งมาก ?
                    ( ตอบ ครูรู้ว่านักเรียนสามารถทำได้ ถ้าตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่ )
          4.  ทำไมครูเชื่อว่านักเรียนสามารถทำได้ เมื่อตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่ ?
                    ( ตอบ ครูได้เห็นนักเรียนเช่นเราทำสำเร็จมาแล้วในอดีตที่ผ่านมา )







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น