วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คณิตศาสตร์กับศิลปะ 2 ลูกบาศก์โซมา (4)



วิธีสร้างลูกบาศก์โซมาวิธีที่ 2  โดยการพับกระดาษแล้วนำมาสานให้เป็นลูกบาศก์โซมาแต่ละชิ้น

     การทำลูกบาศก์โซมาวิธีนี้มาจากเว็บไซต์  http://www.fam-bundgaard.dk/SOMA/NEWS/N991004.HTM    โดยมีขั้นตอนการทำดังนี้

     ขั้นที่ 1  เราจะทำ “แถบด้านข้าง”  โดยการใช้กระดาษรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหนึ่งแผ่น   
          พับครึ่งตามแนวเส้น  แล้วกางออก (ต้องการรอยพับ)   พับครึ่งตามแนวเส้น  B  และ ดังรูป








     ขั้นที่ 2  พับมุมทั้งสองข้างเข้าไปตามแนวเส้น  และ  E   จากนั้นคลี่กระดาษออก  จะเห็นรอยพับดังรูป

















     ขั้นที่ 3  พับรูปสามเหลี่ยม และรูปสามเหลี่ยม เข้ามา  ดังรูป









     ขั้นที่ 4  พับรูปสี่เหลี่ยม H (รูปใหญ่ตลอดแนว) ขึ้นไป ดังรูป




     พับรูปสามเหลี่ยม I  เข้าไป แล้วพับรูปสี่เหลี่ยม (รูปใหญ่ตลอดแนว)  ลงมาทับ




     ขั้นที่ 5  พับรูปสามเหลี่ยม
สอดเข้าไปข้างใต้รูป  L   จากนั้นพับรูปสามเหลี่ยม M และ เข้ามาตามแนวเส้น P  แล้วกางออก (ต้องการรอยพับ)





                  เราก็จะได้ “แถบด้านข้าง” จำนวน  1  ชิ้น



          ในการสร้างลูกบาศก์หน่วยซึ่งมีด้านทั้งหมด  6  ด้าน จะต้องใช้ “แถบด้านข้าง” จำนวน  6  ชิ้น ต่อเข้าด้วยกันโดยสอดส่วนปีกของ “แถบด้านข้าง” เข้าไปซึ่งคล้ายกับการใส่สลัก ดังรูป





















          ลูกบาศก์หน่วยจะมีวิธีการประกอบดังรูปต่อไปนี้


















          ในการทำลูกบาศก์โซมาแต่ละชิ้นจะใช้ “แถบด้านข้าง” เท่ากับจำนวนหน้าของลูกบาศก์โซมาชิ้นนั้นๆ  ตัวอย่างเช่น  ลูกบาศก์โซมาหมายเลข 1  จะเห็นได้ว่ามีทั้งหมด  14  หน้า แม้ว่าจะใช้ลูกบาศก์หน่วย  3  ลูก ซึ่งมีหน้ารวม  18  หน้า  แต่เพราะว่าลูกบาศก์โซมาหมายเลข 1 มีบางหน้าซ่อนอยู่ภายใน   ดังนั้นใช้ “แถบด้านข้าง”  จำนวน  14  ชิ้น ก็เพียงพอแล้ว





          สำหรับลูกบาศก์โซมาที่เหลืออีก  6  ชิ้น ทุกชิ้นต่างก็มีจำนวนหน้าเท่ากัน คือ  18  หน้า   ดังนั้นรวม “แถบด้านข้าง” ที่ต้องใช้ทำลูกบาศก์โซมาทั้งหมดเป็นจำนวน  122  ชิ้น


     ข้อควรจำที่สำคัญ  คือ เมื่อประกอบรูปทรงเสร็จสิ้นแล้ว  ปีกของ “แถบด้านข้าง” ทุกชิ้นต้องเข้าสลักได้ทั้งหมด













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น