วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ยุทธวิธีในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (1)




              ยุทธวิธีในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  ชุดนี้เรียบเรียงจากแหล่งความรู้ต่างๆ  เช่น
          1.  ประพันธ์ศิริ  สุเสารัจ.  คิดเก่ง สมองไว.  บริษัท โปรดัคทีฟ บุ๊ค จำกัด  กรุงเทพฯ พิมพ์ครั้งที่ 2, 2542.
          2.  สมเดช  บุญประจักษ์.  การแก้ปัญหา.  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฎพระนคร กรุงเทพฯ, 2543.
          3.  สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. คู่มือการสอนหลักสูตรเพิ่มพูนประสบการณ์สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ด้านคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. บริษัท พิมพ์ดี จำกัด กรุงเทพฯ, 2547.
          4.  วารสารวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ทางการศึกษา  ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลายฉบับในช่วงปี พ.ศ. 2523 – 2525
          5.  Martin Gardner. More Mathematical Puzzles and Diversions. Penguin Books, 1961.
          6.  William E. Mitchell and Thomas F.Kowalik. Creative Problem Solving. Third Edition, 1999.
          7.  http://school.obec.go.th/math_sup/polya2.htm
          8.  http://en.wikipedia.org/wiki/George_P%C3%B3lya
          9.  การพัฒนากระบวนการคิด  http://www.bsru.ac.th/study/decision/ex2/a2.htm
         10.  http://math1.snru.ac.th/UserFiles/File/math1@snru/thinking%20and%
20decise%20subject/t1112-22.doc
         11.  http://library.thinkquest.org/25459/learning/problem/
         12.  http://library.thinkquest.org/4471/learn.htm
         13.  http://members.optusnet.com.au/charles57/Creative/Brain/cps.htm
         14.  http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/knowledge_math/
sequence/sequenc1.html
         15.  http://condor.admin.ccny.cuny.edu/~ks7271/
         16.  http://www.onlinemathlearning.com/math-problem-solving-strategies.html
         17.  http://glencoe.com/sites/common_assets/mathematics/
math_review/PS_Simpler_Problem.pdf
         18.  http://fcit.usf.edu/math/resource/fcat/strat.htm
         19.  http://en.wikipedia.org/wiki/Bulls_and_cows
         20.  http://www.mathsisfun.com/games/bulls-and-cows.html
         21.  www.math.okstate.edu/system/files/hsc/exams/exam02.pdf
         22.  http://www.mymindmap.net/images/
Mind_Map_Template_Mulit_Rnd_small.jpg
         23.  http://www.usingmindmaps.com/images/using-mind-maps.gif
  




        เรามาทำความเข้าใจกับ  ” ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ”  กันก่อน


ปัญหาทางคณิตศาสตร์  หมายถึง สถานการณ์ หรือคำถามที่ต้องใช้ความรู้ และวิธีการทางคณิตศาสตร์เป็นแนวทางในการหาคำตอบ


ภาพจาก  http://www.cartoonstock.com/directory/m/math_problem_gifts.asp



ปัญหาทางคณิตศาสตร์อาจแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้หลายลักษณะด้วยกัน เช่น
1. แบ่งโดยจุดประสงค์ของปัญหา   สามารถแบ่งปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้เป็น  2  ประเภท  คือ
1.1  ปัญหาให้ค้นคว้า  เป็นปัญหาที่ต้องการให้ค้นคว้าหาคำตอบ ซึ่งคำตอบอาจเป็นปริมาณ หรือเป็นวิธีการและคำอธิบายในการให้เหตุผล
1.2  ปัญหาให้พิสูจน์  เป็นปัญหาที่ต้องการให้แสดงเหตุผลว่าข้อความที่กำหนดให้เป็นจริง หรือ เป็นเท็จ


ภาพจาก  http://greedge.livejournal.com/



2. แบ่งโดยความซับซ้อนของปัญหา  สามารถแบ่งปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้เป็น  2  ประเภท  คือ
2.1  ปัญหาธรรมดา  เป็นปัญหาที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อนมากนัก ถ้าผู้แก้ปัญหามีความคุ้นเคยในโครงสร้าง และวิธีการแก้ปัญหา  ก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ในทันที 
2.2  ปัญหาแปลกใหม่  เป็นปัญหาที่มีโครงสร้างซับซ้อน และผู้แก้ปัญหาไม่คุ้นเคยกับปัญหานั้น ซึ่งผู้แก้ปัญหาจะต้องผสมผสานความรู้ความสามารถหลายด้านเข้าด้วยกันจึงจะแก้ปัญหานั้นได้


ภาพจาก  http://www.bnp-chronicle.com/2010/01/math-problem-solver.html



3. แบ่งโดยลักษณะของปัญหา  สามารถแบ่งปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้เป็น  3  ประเภท  คือ
3.1  ปัญหาปลายเปิด  เป็นปัญหาที่มีคำตอบที่เป็นไปได้หลายคำตอบ ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมและวิธีการแก้ปัญหา ปัญหาลักษณะนี้จะให้ความสำคัญของกระบวนการแก้ปัญหามากกว่าคำตอบ
3.2  ปัญหาให้ค้นพบ  เป็นปัญหาที่กำหนดสถานการณ์ให้ผู้แก้ปัญหาดำเนินการตามขั้นตอนวิธีการทางคณิตศาสตร์  จนกระทั่งได้คำตอบในขั้นตอนสุดท้ายของการแก้ปัญหา  มักเป็นปัญหาที่มีวิธีแก้ได้หลายวิธี
3.3  ปัญหาที่มีการกำหนดแนวทาง  เป็นปัญหาที่มีรายละเอียดของปัญหามาให้ เช่น มีคำแนะนำ และคำชี้แจงในการแก้ปัญหา ซึ่งผู้แก้ปัญหาสามารถดำเนินการแก้ปัญหาตามการชี้แนะได้เลย


ภาพจาก  http://www.ehow.com/info_7884486_different-ways-doing-math-problems.html



4. แบ่งโดยเป้าหมายของการฝึก  สามารถแบ่งปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้เป็น  6  ประเภท  คือ
4.1  ปัญหาที่ใช้ฝึกทักษะ  เป็นปัญหาที่ใช้ฝึกขั้นตอนวิธี และการคำนวณเบื้องต้น
4.2  ปัญหาข้อความอย่างง่าย  เป็นปัญหาข้อความที่เคยพบมาก่อน เช่น ปัญหาในหนังสือเรียน  เป็นการฝึกให้คุ้นเคยกับการเปลี่ยนประโยคภาษาเป็นประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ มักเป็นปัญหาขั้นตอนเดียวที่มุ่งให้เกิดความเข้าใจความคิดทางคณิตศาสตร์ และพัฒนาความสามารถในการคิดคำนวณ
                                4.3  ปัญหาข้อความที่ซับซ้อน  คล้ายกับปัญหาอย่างง่าย แต่เป็นปัญหาที่มีตั้งแต่  2  ขั้นตอนขึ้นไป
                                4.4  ปัญหาที่เป็นกระบวนการ  เป็นปัญหาที่ไม่เคยพบมาก่อน เน้นการพัฒนายุทธวิธีต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ  มีการวางแผนแก้ปัญหา และประเมินผลคำตอบ  จะต้องจัดปัญหาให้ง่ายขึ้น หรือแบ่งเป็นขั้นตอนย่อยๆ แล้วหารูปแบบทั่วไปของปัญหานั้น
4.5  ปัญหาการประยุกต์  เป็นปัญหาที่เปิดโอกาสให้ผู้แก้ปัญหาได้ใช้ทักษะ กระบวนการ ความคิด ความรู้ ความเข้าใจ และข้อเท็จจริงทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา  โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง ซึ่งจะทำให้ผู้แก้ปัญหาเห็นประโยชน์และคุณค่าของคณิตศาสตร์
                                4.6  ปัญหาปริศนา  เป็นปัญหาที่บางครั้งได้คำตอบจากการเดาหรือการลองผิดลองถูก  อาจไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา  หรือบางปัญหาต้องใช้เทคนิคการแก้ปัญหาเฉพาะตัว  เป็นปัญหาที่เปิดโอกาสให้ผู้แก้ปัญหาได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์  มีความยืดหยุ่นในการแก้ปัญหา และเป็นปัญหาที่มีมุมมองได้หลายแง่มุม  ปัญหาปริศนามักเป็นปัญหาลับสมอง  ปัญหาท้าทาย  ผู้ที่มีทักษะในการแก้ปัญหาจะแก้ปัญหาลักษณะนี้ได้ดี


ภาพจาก  http://www.clipartof.com/portfolio/bnpdesignstudio/math





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น