การคิดอย่างมีเหตุผล เป็นการคิดที่อ้างอิงหลักฐานมาสนับสนุนเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง
โดยสามารถอธิบายหรือบอกความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่อ้างกับข้อสรุปได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่มีความคิดอย่างมีเหตุผลสามารถชักชวน
หรืออธิบายให้ผู้อื่นยอมรับ หรือเชื่อถือได้ และจะเป็นผู้ที่มีการพิจารณาอย่างรอบคอบมากขึ้นก่อนการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ
หลักฐานที่นำมาอ้างอิง เช่น ข้อเท็จจริง หลักการ
หรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ข้อสรุปที่ได้ เช่น กฎเกณฑ์ใหม่ การตัดสินใจ
ผลสรุป ความสัมพันธ์ การตัดสินประเมินค่า สมมติฐาน หรือหลักการใหม่ ข้อสรุปที่ได้นั้นอาจเป็นการอ้างอิงจากข้อเท็จจริงหลายๆ
ข้อมาสรุป หรืออาจต้องใช้ความสามารถในการเปรียบเทียบ วิเคราะห์ ค้นหา หรือความสามารถหลายๆ
ด้านมาช่วยให้ได้ข้อสรุปนั้นๆ และถ้าข้อมูลมีไม่เพียงพอก็อาจทำให้การสรุปนั้นผิดพลาดได้
การฝึกการคิดอย่างมีเหตุผล
สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ให้ทำการสรุปจากข้อมูล
ความรู้ ทฤษฎีบทที่กำหนดให้ ซึ่งข้อมูลนั้นอาจเป็นข้อความ ตัวเลข หรือรูปภาพ
ก็ได้
1. กำหนดข้อมูล เหตุการณ์ หรือสถานการณ์ขึ้น แล้วให้บอกเหตุผลเพื่อสนับสนุนหรือคัดค้าน
2. ฝึกการตั้งสมมติฐาน
ซึ่งเป็นการคาดคะเนคำตอบที่เป็นไปได้ จากข้อมูล หรือความรู้ย่อยที่ยังไม่สมบูรณ์
ตัวอย่าง จากข้อสมการต่อไปนี้
จงหาว่า a , b และ c เป็นเลขโดดอะไร
ab + ab + ab = cbb
แนวคิด จะเห็นได้ว่า b เป็นหลักหน่วย และ b บวกกัน 3 ครั้ง ได้ผลลัพธ์ในหลักหน่วยก็ยังคงเป็น
b แสดงว่าเราต้องคิดถึงจำนวนที่บวกตัวเอง 3 ครั้งแล้วได้ผลลัพธ์ในหลักหน่วยเป็นตัวเดิม
ซึ่งเมื่อพิจารณาจาก 0 ถึง 9 พบว่าเลขโดดที่สอดคล้องกับเงื่อนไขดังกล่าว
คือ 0 กับ 5
ต่อไปพิจารณาหลักสิบ
a
บวกกัน 3 ครั้ง และอาจจะรวมกับตัวทดของหลักหน่วยแล้วได้ผลลัพธ์
เป็น cb
ถ้า b = 0 จะได้ว่าจำนวน a บวกกัน 3 ครั้งแล้วได้ c0 ซึ่งไม่มีเลขโดดจำนวนใดสอดคล้องกับเงื่อนไขนี้
แสดงว่า b = 5 ทำให้เราคิดต่อไปได้ว่า จำนวน a บวกกัน 3 ครั้ง และรวมกับ 1 ที่ได้จากการทด ได้ผลลัพธ์เป็น c5 ซึ่งมีจำนวนที่สอดคล้องกับเงื่อนไขของ a คือ 8 เพราะ 8 + 8 + 8 = 24 เมื่อบวกกับตัวทด 1 รวมเป็น 25
ดังนั้นจะได้ c คือ 2 นั่นคือ 85 + 85 + 85 = 255
สรุปได้ว่า a
= 8 , b
= 5 และ c = 2
q
ตัวอย่าง มีถุงผลไม้ 3 ถุง บรรจุส้มอย่างเดียว 1
ถุง และบรรจุมังคุดอย่างเดียว 1 ถุง และบรรจุส้มผสมกับมังคุดอีก
1 ถุง ป้ายฉลากที่ติดชื่อผลไม้บนถุงติดไม่ถูกต้องทั้งสามถุง
ให้คิดหาวิธีการที่จะสลับป้ายฉลากใหม่ให้ถูกต้อง
อนุญาตให้ดูผลไม้ในถุงได้เพียง 1 ถุง โดยใช้มือล้วงลงไปในถุงที่ต้องการและหยิบขึ้นมาดูเพียง 1 ลูกเท่านั้น
ภาพ “ส้ม” จาก http://campus.sanook.com/u_life/knowledge_05214.php
ภาพ “มังคุด” จาก http://www.tsdmag.com/news_details-ข่าวท่องเที่ยวและเทศกาล%20มหัศจรรย์มังคุดไทย%20ครั้งที่%201,591,1.html
ภาพ “ถุงผ้า” จาก http://lovelylover.exteen.com/20080316/snsd-1-2-1
แนวคิด เพราะว่าป้ายฉลากที่ติดชื่อผลไม้บนถุงติดไม่ถูกต้องทั้งสามถุง
นั่นคือ
ถุงที่ติดป้ายฉลากว่า “ส้ม” ก็หมายความว่าในถุง อาจเป็นมังคุดอย่างเดียว หรือเป็นส้มผสมกับมังคุดก็ได้
ถ้าหยิบ 1 ลูกจากถุงนี้ผลที่ได้ อาจเป็นส้ม หรือมังคุดก็ได้
ถุงที่ติดป้ายฉลากว่า “มังคุด” ก็หมายความว่าในถุง อาจเป็นส้มอย่างเดียว หรือเป็นส้มผสมกับมังคุดก็ได้
ถ้าหยิบ 1 ลูกจากถุงนี้ผลที่ได้ อาจเป็นส้ม หรือมังคุดก็ได้
ถุงที่ติดป้ายฉลากว่า “ส้มผสมกับมังคุด” ก็หมายความว่าในถุง อาจเป็นมังคุดอย่างเดียว
หรือ เป็นส้มอย่างเดียวก็ได้ ถ้าหยิบ 1 ลูกจากถุงนี้ผลที่ได้
อาจเป็นส้ม หรือมังคุดก็ได้
อนุญาตให้ดูผลไม้ในถุงได้เพียง 1 ถุง และดูได้เพียง 1 ลูกเท่านั้น
เมื่อพิจารณาจากทั้ง 3 กรณีที่เป็นไปได้แล้ว
จะพบว่าผลไม้ที่หยิบขึ้นมาดูอาจเป็นส้ม หรือมังคุดก็ได้
เช่น หยิบ 1 ลูกจากถุงที่ติดป้ายฉลากว่า “ส้ม” และรู้ว่าป้ายฉลากติดไม่ถูกต้อง
ทำให้มีผลการพิจารณา ดังนี้
-
ถ้าหยิบได้ “ส้ม” สามารถสรุปได้ว่าถุงใบนี้เป็น “ส้มผสมกับมังคุด”
-
ถ้าหยิบได้ “มังคุด” ไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็น “มังคุด” หรือ “ส้มผสมกับมังคุด”
เมื่อพิจารณาในลักษณะแบบเดียวกันนี้ทั้งสามถุง
พบว่าการหยิบจากถุงที่ติดป้ายฉลากว่า “ส้มผสมกับมังคุด” เท่านั้น ที่ทำให้สามารถสรุปได้ว่าถุงดังกล่าวบรรจุอะไร
นั่นคือ ถ้าหยิบได้ “ส้ม”
ก็แสดงว่าถุงนั้นมีส้มอย่างเดียว
และถ้าหยิบได้ “มังคุด” ถุงนั้นก็มีมังคุดอย่างเดียว
จากนั้นก็นำป้ายฉลากที่ถูกต้องมาติดไว้ ส่วนอีก 2 ถุง ก็ให้สลับป้ายกัน
q
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น