ฝึกทักษะการคิดริเริ่ม (7)
3.7 การมีอารมณ์ขัน ไอเซน, ดูบแมน และ โนวิกกี้ (Isen , Daubman & Nawicki 1987 ) ได้วิจัยเกี่ยวกับการคิดสร้างสรรค์กับอารมณ์ขัน ผู้วิจัยพบว่าบุคคลที่ชอบดูรายการเกี่ยวข้องกับอารมณ์ขันต่างๆ นั้น จะมีคุณสมบัติทางด้านการคิดที่สามารถรับรู้ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างความรู้ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้ดี มีอารมณ์ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้บุคคลมีความคิดกว้าง และมีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น
เรื่องที่ 1
ครู : “ ใครตอบได้ว่า 7
คูณ 6 ได้เท่าไร ”
นักเรียน : “ 42 ครับ “
ครู : “ เก่งมาก แล้วใครตอบได้ว่า 6
คูณ 7 ได้เท่าไร “
นักเรียนคนเดิม : “ 24 ครับ “
เรื่องที่ 2
บริษัทด้านการลงทุนจะจ้างนักคณิตศาสตร์เข้าทำงาน มีผู้ผ่านการคัดตัวจากรอบแรกจำนวน 3
คน ได้แก่
นักคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ , นักคณิตศาสตร์ประยุกต์ และ นักคณิตศาสตร์สาขาการเงิน
ในการสัมภาษณ์คนทั้งสามทีละคน คำถามเกี่ยวกับเงินเดือนเริ่มต้นที่พวกเขาคาดหวัง
นักคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ : “
30,000 ก็พอแล้ว “
นักคณิตศาสตร์ประยุกต์ : “
ผมคิดว่า 60,000 ก็น่าจะโอเค “
นักคณิตศาสตร์สาขาการเงิน : “ คงต้องราวๆ 300,000 “
เจ้าหน้าที่บุคลากร : “
คุณรู้หรือไม่ว่าเรามีนักคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ที่สามารถทำงานเดียวกันนี้ได้ในราคาหนึ่งในสิบของที่คุณเรียกร้อง
“
นักคณิตศาสตร์สาขาการเงิน : “
ดีล่ะ ผมได้รับ
135,000 และ คุณได้รับ 135,000
ส่วนอีก 30,000
สำหรับนักคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ที่จะทำงานนี้ “
เรื่องที่ 3
นักคณิตศาสตร์คนหนึ่งเดินมาเห็นคนงานกลุ่มหนึ่งกำลังพยายามโยนสายวัดไปบนยอดเสาไฟฟ้า
ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบาก
นักคณิตศาสตร์ถามว่า : “ คุณกำลังทำอะไรอยู่ “
คนงานตอบว่า : “ เราอยากรู้ว่าเสาสูงเท่าไร
“
นักคณิตศาสตร์ : “
พวกคุณมีรถยกเสา
คุณก็ถอนเสาลงวางไว้บนพื้นแล้ววัดความยาวของเสา “
คนงาน : “ เราทำแบบนั้นไม่ได้ เพราะเราต้องการความสูง ไม่ใช่ความยาว “
เรื่องที่ 1 – 3 มาจาก : http://math.about.com/gi/o.htm?zi=1/XJ&zTi=1&sdn=math&cdn=education&tm=23&f=00&tt=14&bt=0&bts=0&zu=http%3A//www.math.ualberta.ca/~runde/jokes.html
เรื่องที่ 4
ภาพจาก http://teachers.olatheschools.com/jdunawaysf/math-humor/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น