วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ยุทธวิธีในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (4)




การสร้างตาราง (2)

ตัวอย่าง 1.2   ส้ม และ แจน อ่านหนังสืออ่านนอกเวลากันคนละหนึ่งเล่ม ส้มอ่านได้วันละ 8 หน้า ส่วนแจนอ่านได้วันละ 5  หน้า  ถ้าความสามารถในการอ่านของคนทั้งสองคงที่  และเริ่มอ่านในวันเดียวกัน แล้ว แจนจะอ่านได้รวมกี่หน้า เมื่อส้มอ่านได้รวม  56  หน้า


แนวคิด       เราสามารถสร้างตารางได้หลายแบบ  เช่น


        หรือ






     ใส่จำนวนวัน และจำนวนหน้ารวมทั้งหมดที่แต่ละคนอ่านได้



                จากตารางจะพบว่าเมื่อครบ  7  วัน ส้มจะอ่านได้รวม  56  หน้า ซึ่งตรงตามที่โจทย์ต้องการพอดี ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องหาวันต่อๆ ไป  และจะได้ว่าแจนอ่านได้รวม  35  หน้า

ตอบ     แจนอ่าน  35  หน้า เมื่อ ส้มอ่านได้  56  หน้า

q

ตัวอย่าง 1.3   โรงเรียนแห่งหนึ่งมีครู  4  คน  เป็นครูผู้ชาย  2  คน  คือ เดชาและกล้าหาญ  ครูผู้หญิง  2  คน คือ จริยาและสาริน   ในการประชุมวางแผนการสอนรายวิชาศิลปะ  คณิตศาสตร์  ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์  ได้ข้อสรุปว่า
                                (1)   ครูแต่ละคนสอนเพียงรายวิชาเดียว
                                (2)   ครูสตรีจะไม่สอนคณิตศาสตร์
                                (3)   น้องชายของเดชาสอนภาษาอังกฤษ
                                (4)   สารินสอนวิทยาศาสตร์
                อยากทราบว่าครูแต่ละคนสอนวิชาอะไรบ้าง

แนวคิด    ใช้ตารางช่วยในการวิเคราะห์ปัญหา ดังนี้



ขั้นที่ 1         เมื่อวิเคราะห์ข้อสรุปทั้ง  4  ข้อ พบว่า “สารินสอนวิทยาศาสตร์” และ “ครูแต่ละคนสอนเพียงรายวิชาเดียว”  ทำให้สามารถบันทึกลงในตารางได้ดังนี้
( จะใช้เครื่องหมาย  P  สำหรับข้อมูลที่สัมพันธ์กัน  และใช้เครื่องหมาย  X  สำหรับข้อมูลที่ไม่สัมพันธ์กัน )




                ความหมายของสัญลักษณ์ในตารางก็คือ  “ครูสาริน สอนวิชาวิทยาศาสตร์ และไม่ได้สอนวิชาอื่น”  และในขณะเดียวกันก็ทำให้ทราบว่า  “นอกจากครูสารินแล้วจะไม่มีครูคนใดสอนวิชาวิทยาศาสตร์”


ขั้นที่ 2     วิเคราะห์ต่อไป  “น้องชายของเดชาสอนภาษาอังกฤษ”  เนื่องจากครูผู้ชายมี  2  คน   ดังนั้นครูกล้าหาญสอนวิชาภาษาอังกฤษ   บันทึกข้อมูลดังนี้





ขั้นที่ 3     “ครูสตรีจะไม่สอนคณิตศาสตร์”  เพราะว่าครูสตรีมีสองท่าน จริยาและสาริน  จะบันทึกข้อมูลได้ดังนี้




ขั้นที่ 4     จากตารางในขั้นที่ 3 นี้ ทำให้สรุปได้ว่า ครูจริยาสอนวิชาศิลปะ  
                          ดังนั้น ครูเดชาสอนวิชาคณิตศาสตร์



ตอบ 
             ครูเดชา           สอน วิชาคณิตศาสตร์
             ครูจริยา           สอน วิชาศิลปะ
             ครูกล้าหาญ     สอน วิชาภาษาอังกฤษ
             ครูสาริน           สอน วิชาวิทยาศาสตร์

q






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น